Page 36 - มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 36

2.1.  การจัดตั้ง (Establishment)

                        สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะต้องจัดตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่มีรายละเอียดเพียงพอ เพื่อที่จะแน่ใจได้ว่า
                     สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีข้อบัญญัติที่ชัดเจนและมีความเป็นอิสระ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรมีการระบุบทบาท หน้าที่ อ�านาจ
                     และงบประมาณของสถาบันฯ และควรก�าหนดให้มีหน้าที่ในการด�าเนินการทั้งการส่งเสริมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                     กล่าวคือ



                            สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรมีการก�าหนดในข้อบัญญัติในกฎหมายให้มีหน้าที่ในการด�าเนินการ
                                                ทั้งการส่งเสริมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน














                                   การส่งเสริม                                     การคุ้มครอง

                          ‘การส่งเสริม’ จะหมายรวมถึง การด�าเนินการ        ‘การคุ้มครอง’ จะหมายรวมถึง การด�าเนินการ

                       ทุกอย่างที่จะสร้างสังคมให้เข้าใจและตระหนักถึง   ทุกอย่างที่เป็นการหาแนวทางที่จะป้องกัน
                       สิทธิมนุษยชน และมีการเคารพสิทธิมนุษยชน          การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น กระบวนการนี้
                       มากขึ้นในวงกว้าง การด�าเนินการในลักษณะนี้       รวมไปถึงการดูแล ตรวจสอบ แสวงหาข้อเท็จจริง

                       รวมถึงการศึกษา การฝึกอบรม การให้ค�าปรึกษา       และรายงานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน และ
                       การประชาสัมพันธ์และการสื่อสารสาธารณะ            อาจรวมถึงการจัดการกับข้อร้องเรียนของบุคคล
                                                                       และชุมชนด้วย



                      บทบาทหน้าที่ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรจะก�าหนดไว้อย่างครอบคลุม มีวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน และเป็นไป
                   อย่างอิสระ เพื่อส่งเสริมงานด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงสิทธิต่าง ๆ ที่ก�าหนดไว้ในระดับสากล ระดับภูมิภาค และในประเทศ
                   รวมถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทหน้าที่ควรมีลักษณะดังนี้



                         สามารถส่งเสริมการปฏิบัติและป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนของทั้งภาครัฐและเอกชน

                         มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นแก่สาธารณชน เพื่อสร้างความตระหนักในประเด็นสิทธิมนุษยชน และด�าเนินการด้าน
                         การศึกษาและหลักสูตรการฝึกอบรม

                         มีอ�านาจในการให้ค�าแนะน�าต่อรัฐบาลเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศ และสามารถสืบค้น
                         ข้อเท็จจริง ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ เพื่อประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนได้

                         ได้รับอ�านาจเต็มที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อร้องเรียนต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทหาร ต�ารวจ และ
                         เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง/ความปลอดภัย









                                                                                                                 35
                                                                       มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41