Page 126 - มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 126
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอาจ
ต้องเผชิญกับความต้องการและความท้าทาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาของความขัดแย้ง
บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในช่วงความ
ขัดแย้งภายในประเทศจะแตกต่างไปจากการท�างานตาม
แผนงานปกติ สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอาจต้องมีการจัดล�าดับ
ความส�าคัญของแผนงานใหม่ตามบริบทของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
โดยมุ่งเน้นที่การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสร้างสันติภาพ
และการสร้างความยุติธรรมระหว่างการเปลี่ยนผ่าน
ตามอ�านาจของกฎหมายที่ได้รับ โดยอาจรวมถึง
กิจกรรมการท�างานต่าง ๆ เหล่านี้
การฝึกอบรม การให้การศึกษาและการสร้างความตระหนักแก่ประชาชน สถาบัน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติอาจมุ่งเน้นหรือเพิ่มการฝึกอบรมตามชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในเรื่องที่เกี่ยวกับความจ�าเป็นในการเคารพสิทธิของความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
การตรวจสอบ สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรจะระมัดระวังการละเมิดสิทธิ
มนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ของการใช้ทหารเด็ก หรือใช้อาวุธ หรือ
ความรุนแรงทางเพศ นอกจากนั้น ยังจ�าเป็นต้องมุ่งเน้นในเรื่องการรักษาความลับและ
การป้องกันความปลอดภัยของพยาน/ ตัวตนของผู้ร้องเรียนในเหตุการณ์
การเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชน สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอาจจ�าเป็น
ต้องใช้กระบวนการเฝ้าระวังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มากกว่าที่จะด�าเนินการตรวจสอบ
อย่างเต็มรูปแบบตามแนวทางของกฎหมาย อันอาจจะน�าไปสู่ความไม่พอใจของฝ่ายใด
ฝ่ายหนึ่งก็ได้ โดยการเฝ้าระวังก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลักสิทธิมนุษยชนและกฎหมาย
มนุษยธรรมที่เกี่ยวข้อง
การแนะน�าแก่รัฐบาล สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความรับผิดชอบ
ที่จะให้ค�าแนะน�ารัฐบาลในช่วงเวลาของความขัดแย้ง เนื่องจากในช่วงระยะเวลา
ดังกล่าวอาจเกิดความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอาจต้องเผชิญกับการวิจารณ์จากหน่วยงานและผู้สนับสนุนของแต่ละฝ่าย
ที่โต้แย้งกัน ดังนั้น มีความจ�าเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะให้ค�าปรึกษาหรือข้อเสนอแนะตามหลักสิทธิมนุษยชน
โดยไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
125
มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ