Page 127 - มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 127
การส่งเสริมการเจรจาระหว่างกลุ่มบุคคลที่มีการโต้แย้งหรือ
ต่อสู้กัน ในการแก้ไขความขัดแย้งนั้นจ�าเป็นต้องให้กลุ่มที่มีการ
โต้แย้งกันได้มีโอกาสที่จะเข้าสู่การเจรจาที่สันติ สถาบันสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติอาจจะหาวิธีที่จะสร้างให้เกิดการเจรจานี้ และท�าให้มี
การด�าเนินการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน แม้ว่าในทางปฏิบัตินั้น
แนวทางของการเจรจาจะเกิดขึ้นได้ยากตามช่องทางปกติ (normal
channels) แต่สถาบันฯ ควรพยายามที่จะท�าตัวเป็นศูนย์กลางการ
ประสานร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้มีความขัดแย้งทั้งสองฝ่าย การท�าเช่นนี้
จ�าเป็นที่สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องสร้างความน่าเชื่อถือกับ
ทุกฝ่ายในฐานะผู้ประสานที่ตรงไปตรงมา โดยสถาบันสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติจะต้องไม่พยายามสร้างภาพลักษณ์ในฐานะตัวแทนของรัฐ
และไม่ใช่ในฐานะผู้ให้ก�าลังใจฝ่ายก่อการร้าย (sympathizer
of the insurgents) กระบวนการที่ดีที่สุดจะเกิดขึ้นเมื่อสถาบัน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถท�างานร่วมกับหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐ
(เช่น กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน กลุ่มเครือข่ายทางศาสนา กลุ่มผู้น�า
ทางวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชน ฯลฯ) เพื่อร่วมกันสนับสนุนให้
เกิดการแก้ปัญหาอย่างสันติ โดยไม่มีการอ้างอิงข้อตกลงและเงื่อนไข
อื่น ๆ มาเกี่ยวข้อง
สถาบันฯ ควรเน้นการส่งเสริมความพยายามที่จะสร้างสันติภาพระหว่างชุมชน
แม้ว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอาจจะปลูกฝังความเกลียดชังและความขัดแย้งให้แก่
แต่ละชุมชน แต่สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความจ�าเป็นที่จะต้องพยายาม
ส่งเสริมให้เกิดการสร้างสันติภาพระหว่างชุมชนที่รู้สึกขัดแย้งเหล่านั้น
ผ่านการวางแผนและอ�านวยความสะดวกให้เกิดการประชุมที่จะช่วยให้
ชุมชนเหล่านั้นได้หารือในประเด็นความขัดแย้งพื้นฐาน
แล้วร่วมกันสร้างความสงบสุขและความสามัคคี
ให้กลับคืนมา การเชิญชวนให้ตัวแทนของกลุ่มศาสนา
ตัวแทนขององค์การเอกชนที่ส่งเสริมสันติภาพ หรือ
ผู้น�าท้องถิ่นผู้สูงอายุที่ได้รับการเคารพ ฯลฯ มารวมตัวกัน
เพื่อแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นสามารถท�าได้
ด้วยวิธีการอื่นที่เกิดประโยชน์มากกว่าการสร้างความขัดแย้งกัน
126
มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ