Page 128 - มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 128
โดยในขั้นตอนแรกนั้น สถาบันฯ จ�าเป็นต้องพัฒนาความเข้าใจในปัญหา
เหล่านั้นจากมุมมองของทั้งสองฝ่ายอย่างถี่ถ้วนและชัดเจน เนื่องจากความ
ล้มเหลวในการท�าเช่นนั้นจะหมายความว่ากลุ่มที่มีความขัดแย้งด้านใด
ด้านหนึ่งจะเกิดความกังวลว่าสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่เข้าใจ
ฝ่ายตน
นอกจากนั้น สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติยังอาจจ�าเป็นต้องพัฒนา
ข้อแนะน�าที่ไม่เพียงตอบสนองต่อความกังวลของทั้งสองฝ่าย แต่ยังต้อง
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สามารถน�าไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย
ควรส่งเสริมการแก้ปัญหาที่ยอมรับได้
จากทั้งสองฝ่าย
กระบวนการที่ส�าคัญอีกอย่างคือการฝึกอบรมการศึกษาและสร้างการรับรู้ให้กับสาธารณชน
ภายใต้สถานการณ์ของความขัดแย้ง โดยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะต้องสร้างความเข้าใจ
แก่หน่วยงานของรัฐในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและบรรทัดฐานด้านมนุษยธรรม
รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน การด�าเนินการเช่นนี้จะมีผลประโยชน์
อย่างมากแก่บุคคลในกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มคนพลัดถิ่นภายในประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ สถาบัน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติยังอาจต้องเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่าในการฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชน
แก่คนในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับความจ�าเป็นในการเคารพสิทธิของกลุ่มคนที่อาจ
มีมุมมองทางการเมืองไม่ตรงกัน หรือไม่ได้อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์หรือภาษาเดียวกัน
หากต้นเหตุของความขัดแย้งเกิดจากความไม่เท่าเทียม (inequality) สถาบันสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติจะต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ประชากรส่วนใหญ่มีความเข้าใจในธรรมชาติของความ
คับข้องใจและความต้องการที่จะได้รับการตอบสนอง (address) ที่เหมาะสม
หากสถานการณ์ของความขัดแย้งท�าให้เกิดบุคคลพลัดถิ่นจ�านวนมาก ทางสถาบันสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติมีความจ�าเป็นต้องสร้างความรู้แก่ประชากรในพื้นที่ที่มีการย้ายบุคคลพลัดถิ่นเหล่านี้เข้ามา
ให้มีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ และตระหนักถึงสิทธิของบุคคลพลัดถิ่นเหล่านี้ เช่นเดียวกันกับ
การลี้ภัยไปในประเทศเพื่อนบ้านของบุคคลพลัดถิ่น สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศ
ดังกล่าวก็ควรจะให้ความรู้แก่ประชาชนในประเทศถึงสิทธิของผู้ลี้ภัยด้วย
127
มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ