Page 119 - มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 119
ความจ�าเป็น
ที่จะไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะต้องไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แม้ว่ามีความจ�าเป็นต้องพัฒนาความสัมพันธ์กับทุก
พรรคการเมือง หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องให้ค�าแนะน�าแนวทางในการก�าหนด
นโยบายทางสังคมที่เหมาะสมในแง่สิทธิมนุษยชน แต่ก็ต้องด�าเนินการอย่างระวังระวังและให้แน่ใจว่าเป็นกลางทางการเมือง
เพื่อสะท้อนความเป็นอิสระและความน่าเชื่อถือของสถาบันฯ โดยเฉพาะในช่วงการเลือกตั้ง ทั้งนี้ เพื่อให้สถาบันฯ สามารถ
ท�างานร่วมกับรัฐบาลชุดใหม่ ๆ ได้ตลอด แม้ว่ารัฐบาลแต่ละชุดอาจมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีความแตกต่างกัน
ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่า สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะไม่มีจุดยืนต่อหลักสิทธิมนุษยชนในแต่ละประเด็น
แต่หมายความว่าสถาบันฯ ควรมุ่งเน้นที่จะน�าเสนอจุดยืนที่อยู่บนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด การวิเคราะห์
จะต้องไม่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียในมุมมองทางการเมืองอันหลากหลายของแต่ละฝ่าย
การเข้าร่วมเพื่อส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชนแก่รัฐบาล รัฐสภา และตุลาการนั้น
เป็นหน้าที่รับผิดชอบที่สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรให้ความส�าคัญมากขึ้น
โดยอาจมีกลยุทธ์ในการด�าเนินการดังต่อไปนี้
ให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีส่วนร่วมใน
การประชุมกับบุคลากรที่ส�าคัญในกระทรวงของ
รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จัดการประชุมเป็นประจ�าร่วมกับ
คณะกรรมาธิการที่ส�าคัญ และสมาชิกรัฐสภา
มีส่วนร่วมในการระบุผู้มีส่วนได้เสียนอก
ภาครัฐที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของรัฐบาล
รวมทั้งกลุ่มความเชื่อและกลุ่มทางศาสนา
ที่เกี่ยวข้อง
118
มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ