Page 99 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 99

98 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗









                                    หน้าที่ของรัฐต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (State Duty to Protect) อาทิ

                              การกำาหนดนโยบายคุ้มครอง การแก้ไข และการลงโทษการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่
                              เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชน

                              ในประเทศที่ไปลงทุนทำากิจการ  การให้หน่วยงานภาคธุรกิจตระหนักถึงพันธกรณี
                              ด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐ การเคารพสิทธิมนุษยชนในการดำาเนินงานของรัฐวิสาหกิจ

                              การดำาเนินการให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชนในการทำาธุรกรรมทางการค้าฯ

                                    หน้าที่ของบรรษัทในการเคารพสิทธิมนุษยชน (Corporate Responsibility
                              to Respect) อาทิ การมีนโยบายและกระบวนการในการป้องกัน บรรเทา และแก้ไข
                              ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากกิจกรรมของภาคธุรกิจ  การให้ผู้บริหารสูงสุด

                              ของภาคธุรกิจแสดงพันธกรณีที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชน  การให้มีการตรวจสอบ

                              ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนจากการดำาเนินธุรกิจของตน และให้มีการตอบสนองผล
                              กระทบนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ  การให้มีการสื่อสารกับสาธารณชนเมื่อมีข้อกังวล
                              เกิดขึ้นฯ

                                    การเข้าถึงการเยียวยา (Access to Remedy) อาทิ การให้รัฐดำาเนินการ

                              ช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิให้ได้รับการเยียวยาผ่านมาตรการด้านการบริหารและ
                              กระบวนการยุติธรรม  การส่งเสริมประสิทธิภาพของกลไกกระบวนการยุติธรรมให้

                              สามารถเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิได้อย่างมีประสิทธิภาพ การอำานวยความสะดวกให้
                              เข้าถึงกลไกการเยียวยาอื่น ๆ ที่มิใช่ของรัฐ เช่น กลไกของสมาคมธุรกิจอุตสาหกรรม

                              การให้ภาคธุรกิจสร้างกลไกเยียวยาทั้งในระดับบุคคลและในระดับชุมชนฯ

                                    หลักการดังกล่าว  เป็นแนวทางปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชน
                              มิให้ถูกละเมิดจากการดำาเนินธุรกิจของภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ  โดยประเทศไทย

                              ได้สนับสนุนและร่วมให้การรับรองหลักการนี้ด้วย  ๔๑




                         ๒) สถานการณ์

                              ๒.๑) สภาพปัญหาทั่วไป

                                    ที่ผ่านมา รัฐได้เข้ามาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจน

                    การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตของ






                    ๔๑  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ <http://bit.ly/AHRC1731> เข้าดู ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104