Page 103 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 103
102 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย และการดำารงชีวิตของชาวบ้าน ทำาให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากกลิ่น
มีอาการแสบคอ คอแห้ง ปวดศีรษะ แสบตา มีภาวะเครียดจากการสูดดมกลิ่น มีอาการแน่นหน้าอก
ผื่นคัน หายใจไม่สะดวก ทั้งการดำาเนินการขุดเจาะ ไม่มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นตามระเบียบ
สำานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. ๒๕๔๘ และขาดการประเมิน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เหมาะสม นอกจากนี้ ในพื้นที่ตำาบล
ดูนสาด อำาเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ยังมีข้อเท็จจริงว่า มีการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ตำารวจ ทหาร
มาอำานวยความสะดวกในการขนย้ายอุปกรณ์แท่นขุดเจาะของบริษัทเอกชนเข้าไปยังพื้นที่ขุดเจาะ ทำาให้
เกิดการเผชิญหน้าและความตึงเครียดระหว่างชาวบ้านในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
กสม. ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง รับฟังข้อร้องเรียนของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงเชิญหน่วยงานของรัฐ
ที่เกี่ยวข้องและบริษัทเข้าร่วมให้ข้อเท็จจริงในเวทีรับฟังความคิดเห็น โดยมีประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ
เข้าร่วม รวมถึงนักวิชาการ และพยานผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาร่วมให้ข้อมูลทางวิชาการ เพื่อให้เกิด
กระบวนการรับฟังข้อมูลและข้อคิดเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ โดย กสม. จะได้นำามาประมวลเพื่อจัดทำามาตรการ
การแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
กรณีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีผลกระทบต่อประชาชน
เรื่องการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน
กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนสืบเนื่องจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินว่า ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง
โครงการที่เข้ามาชิดกับหมู่บ้านที่อยู่อาศัย ทำาให้เกิดมลภาวะทางเสียง แรงสั่นสะเทือนจากการก่อสร้าง
และฝุ่นละออง ประชาชนในพื้นที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงและไม่มีส่วนร่วมในการประชุมรับฟังความคิดเห็น
อีกทั้งในเอกสารโครงการไม่มีรายละเอียดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และวิธีการแก้ไขปัญหาที่เชื่อได้ว่า
จะทำาให้เกิดความปลอดภัยแก่ชุมชน นอกจากนั้นยังไม่มีรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นของ
ประชาชน รวมถึงจะมีการเวนคืนที่ดินในบริเวณก่อสร้างโดยไม่คำานึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน
ที่อาศัยบริเวณดังกล่าว และที่สำาคัญคือ จะมีการเวนคืนพื้นที่ในบางส่วนของพื้นที่ “บางกระเจ้า” ซึ่งเป็น
พื้นที่สีเขียวเกษตรกรรมที่สำาคัญของกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ
กสม. ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเชิญหน่วยงานเจ้าของโครงการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้
ข้อเท็จจริง และเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการ
เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดำาเนินโครงการของรัฐ ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชน
และเกิดทำางานร่วมกันของประชาชนในชุมชนเมือง ส่งผลให้มีการยกเลิกการเวนคืนพื้นที่ในเขต
“บางกระเจ้า” และมีการศึกษาความเหมาะสมของรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ตามข้อเสนอของประชาชน
จนนำาไปสู่การให้ความเห็นชอบเลือกเป็นเส้นทางใหม่ของรถไฟฟ้าแทนเส้นทางเดิม