Page 98 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 98
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 97
แสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภทโดยไม่คำานึงถึงพรมแดน
ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษร หรือการตีพิมพ์ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัย
สื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก
อนึ่ง คณะกรรมการประจำากติการะหว่างประเทศฯ ได้ให้ความเห็นในเอกสาร
หมายเลข ๓๔ ว่า ให้หมายรวมถึงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานภาครัฐ
ซึ่งรัฐจะต้องดำาเนินการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยง่าย รวดเร็ว
และมีประสิทธิผล
๑.๓) ข้อเสนอแนะจากกระบวนการ UPR ที่ประเทศไทยรับมาปฏิบัติ
้
ข้อ ๓๘ แก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันและความเหลื่อมลำาในสังคมอย่าง
ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสาเหตุของความขัดแย้งทางสังคมและความไม่สงทางการเมืองในช่วง
๒-๓ ปีที่ผ่านมา รวมทั้งในภาคใต้ของประเทศไทย
ข้อ ๓๙ แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างขั้นพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมในสังคมและ
ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงโอกาสและบริการต่าง ๆ ของคนยากจนและขนชายขอบ
เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถใช้สิทธิของตนเองได้ตามที่ระบุไว้ในแผน และนโยบาย
การปฏิรูปประเทศ
ข้อ ๔๐ ดำาเนินการอย่างต่อเนื่องในการปรับใช้ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อลดความยากจน
ข้อ ๔๑ ดำาเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อมุ่งช่วยเหลือ
คนยากจนและผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีมาตรฐานการดำาเนินชีวิตที่เพียงพอ
ข้อ ๔๒ ดำาเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งให้กับแผนงาน
ด้านสังคมที่ประสบผลสำาเร็จนับจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีความจำาเป็นในการต่อสู้กับความ
ยากจนและการกีดกันทางสังคมบนพื้นฐานของการกระจายความมั่งคั่งอย่างเป็นธรรม
อันจะนำาไปสู่การบรรลุสวัสดิการที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำาหรับประชาชน
๑.๔) หลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
หลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (United
Nations Guiding Principles on Business and Human Rights) ผ่านการรับรองโดย
สหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ เป็นกรอบการปฏิบัติงานของประเทศ
สมาชิก มีเนื้อหาสำาคัญใน ๓ เรื่องหลัก ได้แก่