Page 15 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 15

14 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                                                                                             ้
                            ทั้งนี้ ที่ผ่านมารัฐได้มีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่จะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมลำา โดยออก
                    กฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคทางเพศ การมีนโยบายหรือ
                    มาตรการช่วยเหลือแก่คนพิการ และผู้สูงอายุในลักษณะการสร้างการอยู่ร่วมกันภายในสังคม (Social
                    Inclusion) และการจัดการศึกษาเพื่อการส่งเสริมพหุลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น แต่ก็ยัง
                    ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน

                            อุปสรรคสำาคัญที่พบ ได้แก่ การกระจุกตัวหรือรวมศูนย์อำานาจการตัดสินใจไว้ที่หน่วยราชการ
                    ส่วนกลาง  รวมถึงการดำาเนินนโยบายที่รวมศูนย์อำานาจครอบคลุมในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านการจัดการ

                    ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และการเมืองการปกครอง ตลอดจนการที่ประชาชนและชุมชน
                    ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และขาดการมีส่วนร่วมในการกำาหนดนโยบายและตัดสินใจอย่างแท้จริง

                            นอกจากนั้น ยังมีปัญหาในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีความรุนแรง
                    ยิ่งขึ้นจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมและโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งมักพบว่า การดำาเนินโครงการ
                    ของทั้งรัฐและเอกชนมิได้เคารพสิทธิของประชาชนและชุมชนที่ได้รับการประกันตามรัฐธรรมนูญ

                    หลายโครงการมิได้มีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
                    ตลอดจนกระบวนการประเมินผลดังกล่าว ขาดความเป็นอิสระและไม่ครบถ้วนเพียงพอตามหลักวิชาการ
                    นอกจากนี้ ยังพบว่ามีกลุ่มบุคคลที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการจากรัฐได้อย่างทั่วถึง และ/
                    หรือมีคุณภาพที่เพียงพอ เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มคนพิการ กลุ่มคนชายขอบ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กและสตรี
                    อีกทั้งกลไกสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจ ยังไม่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้าไป

                    มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ซึ่งจะทำาให้เกิดผลกระทบต่อการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน ตลอดจนไม่สามารถ
                    ตอบสนองต่อความต้องการ หรือแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้อย่างแท้จริง

                            สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยในปี ๒๕๕๗  ในภาวะที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้
                    การปกครองของรัฐบาลที่แต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตลอดจนการประกาศใช้
                    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗  และอยู่ในระหว่างการร่าง

                    รัฐธรรมนูญฉบับถาวร  กสม. เห็นความสำาคัญที่รัฐบาลจะต้องส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                    โดยยึดหลักการปกครองโดยระบบนิติรัฐและนิติธรรม การใช้กฎหมายพิเศษ ตลอดจนการจำากัดและลิดรอน
                    สิทธิเสรีภาพควรกระทำาเท่าที่จำาเป็นและได้สัดส่วนที่เหมาะสมกับความรุนแรงของสถานการณ์เท่านั้น
                    นอกจากนี้ รัฐควรเปิดโอกาสรับฟังความเห็นของประชาชนและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำาเนิน

                    นโยบายและมาตรการของรัฐอย่างแท้จริง
                            สำาหรับข้อท้าทายหรือปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น การที่สังคมไทยกำาลังจะก้าว

                    เข้าสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า ปัญหาการเคลื่อนย้ายคนข้ามพรมแดน
                    ทั้งที่เป็นแรงงาน ผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจ รวมถึงกระบวนการอาชญากรรมข้ามชาติของ
                    การค้ามนุษย์ ตลอดจนการลงทุนของธุรกิจข้ามพรมแดน ล้วนก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มี

                    แนวโน้มเพิ่มสูง และซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องเตรียมการป้องกัน
                    และแก้ไขปัญหาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20