Page 185 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 185
184 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
จากโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัท D ในพื้นที่ตำาบลมะต้อง อำาเภอพรหมพิราม
จังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ทำานาของประชาชน การดำาเนินโครงการไม่ได้จัดให้มี
กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบกับการซื้อขายไม่โปร่งใส ทำาให้
้
ผู้ร้องกังวลว่าจะเกิดผลกระทบต่อนาข้าว แหล่งนำาและทางเข้าออกพื้นที่ทำานา ผู้ร้องเห็นว่า การก่อสร้าง
โครงการดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อกฎหมายและละเมิดสิทธิของประชาชน จึงร้องเรียนต่อ กสม. เพื่อขอให้
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและขอคัดค้านการก่อสร้างโครงการดังกล่าว
๘.๒) การดำาเนินการของ กสม.
กสม. มอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนตรวจสอบเรื่องร้องเรียนดังกล่าว
และ กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นโครงการที่อาจส่งผลกระทบ
ต่อทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชนเกษตรกรรม หน่วยงานรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในพื้นที่จึงมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งตรวจสอบ
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ตามหลักการคุ้มครองสิทธิการมีส่วนร่วมและ
สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๕๗ มาตรา ๖๖ มาตรา ๖๗
และมาตรา ๒๘๗ อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น กสม. จึงมีมติกำาหนดมาตรการการแก้ไขปัญหา
การละเมิดสิทธิมนุษยชนเสนอต่อจังหวัดพิษณุโลก และองค์การบริหารส่วนตำาบลมะต้อง และเห็นควรมี
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อคณะกรรมการกำากับกิจการพลังงาน ดังนี้
มาตรการการแก้ไขปัญหา
(๑) จัดให้มีการรับฟังปัญหา ข้อกังวลด้านต่าง ๆ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่
ต่อประชาชนในพื้นที่ตำาบลมะต้อง อำาเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก และรับเอาข้อกังวลและความ
คิดเห็นดังกล่าวมาหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน
(๒) จัดให้มีการชี้แจงข้อมูล รายละเอียดโครงการ ผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
้
ต่อสิ่งแวดล้อม แหล่งนำา และการทำานาของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงมาตรการป้องกันและลดผลกระทบ
เหล่านั้น
(๓) พิจารณาดำาเนินการแก้ไขปัญหาความไม่โปร่งใสและความไม่เป็นธรรมในการ
ซื้อขายที่ดินของประชาชนในพื้นที่ โดยควรตั้งคณะทำางานที่มีความเป็นกลาง ตรวจสอบ และสื่อสารกับ
ประชาชน เพื่อป้องกันการดำาเนินการที่ไม่ชอบของนายหน้าและการละเมิดสิทธิของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้
ควรดำาเนินการโดยยึดหลักสิทธิชุมชน สิทธิการมีส่วนร่วม และสิทธิของบุคคลในทรัพย์สินตามรัฐธรรมนูญ
(๔) พิจารณาให้ความเห็นต่อโครงการให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับพื้นที่
เกษตรกรรม และวีถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนให้สอดคล้องกับข้อกำาหนดของผังเมืองรวม
เพื่อป้องกันปัญหาผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชน