Page 137 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 137
136 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
F เสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมายพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ และ
กฎกระทรวงกำาหนดความเสียหายที่จะให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น จำานวนเงิน
ค่าเสียหายเบื้องต้น การร้องขอรับและการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น พ.ศ. ๒๕๕๒
ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
๓) การประเมินสถานการณ์
๗๓
จากการประเมินการปฏิบัติตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๖๔) และ
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ พบว่า ยังไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้เท่าที่ควร
ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากไม่มีนโยบายและแนวทางที่ชัดเจนจากรัฐบาล ทำาให้ขาดความต่อเนื่อง ประกอบ
กับนโยบายทางการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นไม่ได้ให้ความสำาคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของผู้สูงอายุอย่างจริงจัง และผู้สูงอายุไม่มีอำานาจในการต่อรองกับรัฐในเรื่องต่าง ๆ จึงเห็นว่ารัฐควรมี
มาตรการในการรับรองสิทธิของผู้สูงอายุที่สำาคัญ ดังนี้
F จัดให้มีแผนการออมแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนเมื่อเข้าสู่วัยของผู้สูงอายุ
F พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว เช่น ระบบบริการสุขภาพและ
สวัสดิการทางสังคมบริการขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำาเป็นต่อการดำารงชีพของผู้สูงอายุ
ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๑๑ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็น
ผู้ยากไร้ ผู้ทุพพลภาพ หรือผู้พิการ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำาบากพึ่งพาตนเอง
ได้น้อย และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและประชาชนได้ทราบถึงสิทธิดังกล่าว
F อาจพิจารณาความเหมาะสมหรือความยืดหยุ่นในการกำาหนดอายุเกษียณที่ ๖๐ ปี
โดยผู้สูงอายุอาจเลือกที่จะเกษียณตนเองหรือสมัครใจที่จะทำางานต่อ และสามารถ
ที่จะเกษียณตัวเองได้เมื่อร่างกายไม่สามารถปฏิบัติงานได้
ประเทศไทยมีกฎหมายที่ประกันสิทธิของคนพิการที่มีความก้าวหน้าและสอดคล้องกับบทบัญญัติ
ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการเป็นส่วนใหญ่ แต่คนพิการยังไม่สามารถเข้าถึงและใช้สิทธิ
ตามกฎหมายได้อย่างเต็มที่ กสม. เห็นว่า
F รัฐควรจัดให้มีระบบกำากับดูแลและติดตามประเมินผลการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้สิทธิที่ได้รับการรับรองในกฎหมายเกิดผลในทางปฏิบัติจริง โดยมี
การวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการดำาเนินการ พร้อมเสนอแนะนโยบายและ
มาตรการแก้ไขต่อคณะกรรมการระดับชาติ รวมถึงประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ
๗๓ แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๖๔)