Page 135 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 135
134 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
โดยที่สังคมไทยมีแนวโน้มเป็นสังคมครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น มีลักษณะผู้สูงวัยอยู่บ้าน
เพียงลำาพัง ไม่มีคนดูแลหรือไม่มีระบบการดูแลที่รองรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดำาเนินการ
ให้มีระบบและกลไกในการรองรับผู้สูงอายุอีกมาก รวมถึงการดูแลในระยะยาว ทั้งในด้านการดำารงชีพ
การรักษาพยาบาล เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมและบริการขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำาเป็นต่อการดำารงชีพของ
ผู้สูงอายุ
ในส่วนของคนพิการ กสม. มีข้อห่วงใยในการปฏิบัติว่า ยังไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์
ของอนุสัญญาฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
F การมีส่วนร่วมของคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
คนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ พบว่า คนพิการได้เข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ บ้าง แต่ยัง
ไม่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงตั้งแต่ขั้นตอนของการคิดและวางแผน รวมถึง การมี
ส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
F การสร้างการยอมรับต่อคนพิการ แม้จะมีการรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงปัญหา
ต่าง ๆ ของคนพิการที่ประสบอยู่ แต่พบว่าผู้ปกครองคนพิการจำานวนหนึ่งไม่ต้องการ
ให้ลูกทำาบัตรคนพิการเพราะเห็นว่าเป็นการตีตราทางสังคม
F การเข้าถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การเดินทาง และข้อมูล พบว่า คนพิการ
ยังไม่สามารถเข้าถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การเดินทาง และข้อมูลข่าวสาร
ทำาให้เป็นอุปสรรคต่อการดำารงชีวิตได้อย่างอิสระรวมถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมใน
สังคม “อารยะสถาปัตย์” (Universal Design) หรือการออกแบบที่ทุกคนใช้
ประโยชน์ได้ ยังไม่มีการนำาไปปฏิบัติอย่างทั่วถึง
F การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม พบว่า คนพิการยังมีข้อจำากัดในการเข้าถึงบริการ
ต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรม เช่น การขาดล่ามภาษามือ หรือการขาดผู้ประกอบ
วิชาชีพในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้พิการที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เป็นต้น
F การถูกทำาร้าย แสวงประโยชน์ หรือล่วงละเมิด พบว่า คนพิการที่ยากจนและอยู่
ตามลำาพัง ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ มักจะถูกทอดทิ้ง และเสี่ยงต่อการถูกทำาร้าย
และละเมิดในรูปแบบต่าง ๆ โดยหน่วยงานรัฐยังไม่มีมาตรการเชิงรุกที่จะป้องกันได้
F การดำารงชีวิตอย่างอิสระและการมีมาตรฐานการดำารงชีวิตที่เพียงพอ พบว่า ใน
สังคมไทยยังไม่ได้ให้คนพิการสามารถดำารงชีวิตอย่างอิสระได้ ซึ่งหมายถึง การที่
คนพิการสามารถเลือกดำารงชีวิตในรูปแบบที่ตนต้องการได้ อันเป็นเรื่องศักดิ์ศรี
และเสรีภาพในการตัดสินใจ