Page 133 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 133
132 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
ทั้งนี้ ในช่วงที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ เมื่อ
วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑ มีกฎหมายที่ประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของคนพิการในประเทศไทยที่สอดคล้อง
กับพันธกรณีตามอนุสัญญา อาทิ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
พร้อมการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำาหรับ
คนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎกระทรวงแรงงาน ลงวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๔ เรื่อง กำาหนดจำานวนคนพิการ
ที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของภาครัฐจะต้องรับเข้าทำางาน และจำานวนเงิน
ที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำาส่งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้น
ในส่วนสิทธิด้านสุขภาพ ถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับการคุ้มครอง
จากรัฐ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติโดยเหตุของความแตกต่างใด ๆ การได้รับบริการทางสาธารณสุขต้องได้
มาตรฐานและเหมาะสมกับช่วงวัย ภาระโรคและการเจ็บป่วย ทั้งนี้ ต้องได้รับบริการที่มีคุณภาพ สามารถ
เข้าถึงได้อย่างทั่วถึง หาได้ง่าย และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ (Availability, Accessibility, Adaptability,
Quality : AAAQ) แต่ระบบประกันสุขภาพในระบบสาธารณสุขของไทยยังมีหลากหลายกองทุน ได้แก่
ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการข้าราชการ ส่งผลให้เกิดความ
๖๘
้
เหลื่อมลำา ความไม่เป็นธรรมในการได้รับบริการสาธารณสุข สิทธิประโยชน์ไม่เท่าเทียมกัน จึงจำาเป็นต้อง
กำาหนดเป็นหลักประกันว่า ทุกคนต้องได้รับบริการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ๖๙
นอกจากนี้ ยังมีกรณี “นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน” (Emergency
Claim Online : EMCO) ในการกำาหนดแนวสำาหรับผู้ป่วยที่มีโรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรง
อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือต่อผู้อื่นสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่พบปัญหา
ในทางปฏิบัติ ได้แก่ การตีความคำานิยาม “เจ็บป่วยฉุกเฉิน” ซึ่งมีความเข้าใจแตกต่างกันในมุมมองของ
ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ ทำาให้ไม่มีการส่งต่อผู้ป่วยเมื่อพ้นวิกฤตไปรักษาต่อยังโรงพยาบาล
ต้นสังกัดทำาให้ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเอง ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของนโยบาย รวมถึง
การขาดข้อมูล ข่าวสารของประชาชน ในการได้รับสิทธิประโยชน์และร้องเรียนเมื่อมีปัญหา เป็นต้น
อนึ่ง ยังพบปัญหาการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพของคนบางกลุ่ม ข้อมูลจากสำานักงาน
พัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศได้ประเมินจำานวนบุคคลที่มีปัญหาทางสถานะและสิทธิทางสุขภาพ
เช่น ชนกลุ่มน้อย ชาวเขา คนไร้รัฐ ผู้อพยพลี้ภัยตามค่ายอพยพชายแดนไทย - พม่า แรงงานข้ามชาติ
ที่อยู่นอกระบบ และกลุ่มคนที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนว่า มีประมาณ ๒ ล้านคน ประชากรกลุ่มนี้คาดว่า
มีเด็กรวมอยู่ด้วยมากกว่า ๑ แสนคน เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ เพียงแห่งเดียวมีจำานวนเด็กต่างด้าวที่เป็น
๗๐
ลูกของแรงงานข้ามชาติสูงถึงประมาณ ๓ หมื่นคน สำาหรับกรณีคนพิการพบว่า การจัดบริการทางการ
๖๘ ในเรื่องนี้ กสม. ได้มีข้อเสนอแนะนโยบายและการปรับปรุงกฎหมาย ตามรายงานผลการพิจารณาที่ ๓๙๖-๔๐๐/๒๕๕๖
๖๙ คณะกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข สภาปฏิรูปแห่งชาติ “กรอบแนวทางการจัดทำาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูป”, ๒๕๕๗
๗๐ แรงงานข้ามชาติกับระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย, ดูรายละเอียดเพิ่มเติม <www.healthinfo.in.th> เข้าดูเมื่อวันที่ ๒๐
พฤษภาคม ๒๕๕๘