Page 134 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 134

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 133











                       แพทย์ของรัฐยังไม่ทั่วถึง  การให้บริการอุปกรณ์/เครื่องช่วยความพิการและการฟื้นฟูคนพิการมีจำากัด

                       ในโรงพยาบาลเพียงบางแห่งเท่านั้น  รวมถึงการขาดความเชี่ยวชาญในการรักษาความพิการมากพอ
                       การขาดงบประมาณสำาหรับการจัดบริการฟื้นฟูให้คนพิการที่บ้าน และให้บริการพื้นฐานอื่นที่จำาเป็นสำาหรับ

                       การดำารงชีวิตอิสระของคนพิการ


                                 ๒.๒) สถานการณ์สิทธิมนุษยชน และการดำาเนินการของ กสม.


                                      ปัญหาสิทธิมนุษยชนทั่วไปที่พบในกลุ่มของผู้สูงอายุ คนพิการ และการสาธารณสุขนั้น
                       นอกจากการถูกละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นกลุ่มบุคคลดังกล่าวโดยตรงแล้ว ยังมีปัญหาที่ยังเป็นการเลือกปฏิบัติ
                        ้
                       ซำาซ้อน เช่น กรณีของผู้สูงอายุที่เป็นสตรี คนพิการ หรือคนพิการที่เป็นคนชายขอบหรือชนกลุ่มน้อย
                       ตลอดจนทัศนคติของสังคมในเชิงลบที่เป็นการตีตราที่ทำาให้บุคคลเหล่านั้นไม่สามารถอยู่ร่วมในสังคมได้

                       อย่างปกติ  ๗๑
                                      ในส่วนของผู้สูงอายุ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖  ได้รับรองสิทธิของ

                       ผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ ไว้ เช่น สิทธิได้รับการบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขโดยสะดวกและ
                       รวดเร็ว สิทธิได้รับบริการด้านการศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ สิทธิได้รับบริการ

                       ด้านการประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม สิทธิในการพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
                       ทางสังคม สิทธิได้รับการอำานวยความสะดวกและความปลอดภัยในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะหรือ

                       การบริการสาธารณะ สิทธิในการได้รับการช่วยเหลือในกรณีถูกทารุณกรรมหรือถูกแสวงหาประโยชน์
                       โดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือถูกทอดทิ้ง สิทธิได้รับบริการการจัดที่พักอาศัย อาหาร และเครื่องนุ่งห่ม

                       ตามความจำาเป็นอย่างทั่วถึง สิทธิได้รับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพตามความจำาเป็นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
                       แต่ในทางปฏิบัติพบว่า สภาพการดำารงชีวิตของผู้สูงอายุจำานวนมากมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานที่เหมาะสม

                       ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาของการขาดหลักประกันทางเศรษฐกิจที่รัฐพึงจัดหาให้  แม้ว่าเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
                       รัฐจะจัดสรรเบี้ยผู้สูงอายุให้เดือนละ ๖๐๐-๑,๐๐๐ บาท ตามช่วงอายุแบบขั้นบันได แต่เมื่อเปรียบเทียบ

                       ค่าครองชีพที่สูงขึ้นกับเบี้ยยังชีพที่ได้รับแล้ว ยังไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์เศรษฐกิจ ทำาให้ผู้สูงอายุขาด
                       ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ  แม้ว่าจะประเทศจะมีพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๔

                       เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของประชาชนที่จะเป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ แต่รัฐบาล
                       ยังไม่ได้นำามาปฏิบัติให้เกิดผล

                                      หลักประกันทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุยังเชื่อมโยงกับเรื่องการเกษียณอายุ เพราะจะ
                       ทำาให้ผู้สูงอายุมีรายได้ลดลง  ดังนั้น การออกจากงานเมื่อครบอายุเกษียณ ๖๐ ปี ทำาให้ผู้สูงอายุมีรายได้

                       ลดลง ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพของการดำารงชีพ รวมถึงความสามารถที่จะมีชีวิตอย่างเป็นอิสระโดยไม่
                       ต้องพึ่งพิงครอบครัว บุตรหลาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุบางรายยังสามารถทำางานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ



                       ๗๑  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “การเลือกปฏิบัติซำาซ้อน” (Multiple discrimination) และ “การสอดประสาน” (intersection-
                                                        ้
                         ality) ของอัตลักษณ์บุคคล, <ww.socialdifference.columbia.edu> เข้าดูเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139