Page 110 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 110
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 109
๑.๒) สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
๑.๒.๑) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ข้อ ๑
๒. เพื่อจุดมุ่งหมายของตน ประชาชาติทั้งปวงอาจจัดการโภคทรัพย์ และ
ทรัพยากรธรรมชาติของตนได้อย่างเสรี โดยไม่กระทบต่อพันธกรณีใด ๆ อันเกิดจาก
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการแห่งผล
ประโยชน์ร่วมกันและกฎหมายระหว่างประเทศ ประชาชาติจะไม่ถูกลิดรอนวิถีทางยังชีพ
ของตนไม่ว่าในกรณีใด
ข้อ ๒
รัฐภาคีแต่รัฐแห่งกติกานี้รับที่จะดำาเนินการ โดยเอกเทศและโดยความร่วมมือและ
ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางเศรษฐกิจและวิชาการ โดยใช้
ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในการทำาให้สิทธิซึ่งรับรองไว้ใน
กติกานี้กลายเป็นความจริงอย่างบริบูรณ์โดยลำาดับด้วยวิธีทั้งปวงที่เหมาะสม โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งรวมทั้งการกำาหนดมาตรการทางกฎหมายด้วย
ข้อ ๑๑
๑. รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคนในมาตรฐานการครองชีพที่
เพียงพอสำาหรับตนเองและครอบครัว ซึ่งรวมถึงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย
ที่เพียงพอและสภาพการครองชีพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐภาคีจะต้องดำาเนินขั้นตอนที่
เหมาะสมเพื่อประกันการทำาให้สิทธินี้เป็นจริง โดยรับรองความสำาคัญอย่างแท้จริงของ
ความร่วมมือระหว่างประเทศบนพื้นฐานของความยินยอมโดยเสรี
๑.๒.๒) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ข้อ ๑๙
๑. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง
๒. บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพ
ที่จะแสวงหา รับ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภทโดยไม่คำานึงถึง
พรมแดน ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษร หรือการตีพิมพ์ในรูปของศิลปะหรือ
โดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก
อนึ่ง คณะกรรมการประจำากติการะหว่างประเทศฯ ได้ให้ความเห็นในเอกสาร
หมายเลข ๓๔ ว่า ให้หมายรวมถึง สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานภาครัฐ
ซึ่งรัฐจะต้องดำาเนินการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยง่าย รวดเร็ว
และมีประสิทธิผล