Page 105 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 105

104  รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                    ในท้องถิ่นอย่างผิดกฎหมาย  มีการใช้กำาลังข่มขู่คุกคาม ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน  ชุมชน

                    ในพื้นที่สูญเสียการดำารงชีพและโอกาสในการทำางาน สูญเสียความมั่นคงด้านอาหาร ขาดโอกาสด้าน
                    การศึกษา ทำาให้ปัญหาความยากจนเลวร้ายลง

                         จากการตรวจสอบ  กสม. พบว่า พื้นที่สัมปทานดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านในชุมชนชิกออ
                    (Chikhor) ชุค (Chhouk)  และตาเปง เคนดัล (Trapeng Kendal) อำาเภอสเร อัมเบล (Sre Ambel)

                    จังหวัดเกาะกง (Koh  Kong)  อาศัยและพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นในการดำารงวิถีชีวิตมายาวนาน
                    การมีนโยบายนำาพื้นที่ไปให้แก่ภาคเอกชนประกอบธุรกิจก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชุมชน

                    อย่างรุนแรง ทั้งในเรื่องการใช้ความรุนแรงขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ การจำากัดและขัดขวางการใช้
                    ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นพื้นฐานในการดำารงชีวิตที่สำาคัญของชุมชน ผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก

                    การละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว ถือว่าบริษัทเอกชนต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบ แม้บริษัทจะมิได้เป็นผู้ลงมือ
                    กระทำาการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นก็ตาม เพราะได้รับประโยชน์จากการรับช่วงสัมปทาน

                         กสม. เห็นว่า แม้การละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีนี้จะเกิดขึ้นที่ประเทศกัมพูชา แต่เมื่อพิจารณา
                    ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๒ (๒) กติการะหว่างประเทศ

                    ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ข้อ ๒ (๑)  และปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
                    ข้อ ๓๙  ตลอดจนหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน: การปฏิบัติตามกรอบ

                    การคุ้มครอง เคารพ เยียวยา (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights)
                    ส่วนที่ ๒  ความรับผิดชอบของภาคธุรกิจในการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน (The Corporate Responsi-

                    bility to Respect Human Rights) ข้อ ๑๑ ถึงข้อ ๒๓ ยืนยันว่า เป็นความรับผิดชอบของรัฐ ในกรณีนี้
                    คือ ประเทศไทยที่จะต้องประกันให้มีการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามกติการะหว่างประเทศที่เป็นภาคี

                    รวมถึงความรับผิดชอบที่จะป้องกันไม่ให้บริษัทที่ตั้งอยู่ในดินแดนของตน หรือจดทะเบียนอยู่ใต้เขต
                    อำานาจของตนไปทำาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศ  ดังนั้น กสม. ได้มีรายงานการตรวจสอบ

                    การละเมิดสิทธิมนุษยชน  โดยเห็นสมควรกำาหนดข้อเสนอแนะนโยบายหรือแนวทางแก้ไขปัญหาไปยัง
                    กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์ เพื่อดำาเนินการต่อไป
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110