Page 149 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 149
147
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
รายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบาย หรือ
ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย เลขที่ ๔๘๒/๒๕๕๘ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘
ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม กสม. ในคราวประชุม ครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๘
วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๘
๑. ความเป็นมา
ปัจจุบันความเสียหายจากการบริการสาธารณสุขมีแนวโน้มที่เกิดขึ้นตรงกัน
ในประเทศไทยและหลายๆ ประเทศ คือ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยที่ต้องบาดเจ็บหรือ
เสียชีวิต จากความผิดพลาดทางการแพทย์ในกระบวนการรักษาพยาบาลเป็น
จำานวนมาก สำาหรับประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าเกิดความผิดพลาดและ
ความเสียหายขึ้นมากน้อยเพียงใด แต่หากพิจารณาจากสถิติการร้องเรียนของ
ประชาชนไปยังแพทยสภา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชน
ทำาให้เห็นแนวโน้มความรุนแรงของปัญหาและทำาให้การเผชิญหน้ากันระหว่าง
๓๘
ประชาชนกับบุคลากรด้านการแพทย์ทวีเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าพระราชบัญญัติ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้นำาปัญหานี้ไปแก้ไขโดยกำาหนดไว้ใน
๓๙
มาตรา ๔๑ เพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากบริการ
สาธารณสุขที่ไม่ได้เกิดจากพยาธิสภาพของโรคนั้นๆ โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ถูกผิด
และครอบคลุมเหตุสุดวิสัยทางการแพทย์ แต่การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตาม
มาตรา ๔๑ ดังกล่าว มีข้อจำากัดที่ครอบคลุมเฉพาะประชาชนผู้มีสิทธิตามโครงการ
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองประมาณ ๔๗ ล้านคน ดังนั้น ประชาชน
๑๖ ล้านคนยังไม่มีระบบใดๆ รองรับ ๔๐
๓๘ ระบบชดเชยความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข โดยไม่เพ่งโทษตัวบุคคล และไม่พิสูจน์ความผิด. สืบค้นจาก www.consumerthai.
org/…/no-fault%20or%20no-blame%20liability%20…
๓๙ มาตรา ๔๑ ให้คณะกรรมการกันเงินจำานวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่
ผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำาผิดมิได้หรือ
หาผู้กระทำาผิดได้แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำาหนด
๔๐ สืบค้นจาก http://ilaw.or.th/node/462