Page 145 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 145

143
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                       สำาหรับการเกณฑ์ทหารในต่างประเทศ มีปัจเจกชนหลายคนได้อ้างสิทธิในข้อ ๑๘ แห่งกติการะหว่างประเทศ

                  ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่จะปฏิเสธเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับภารกิจด้านการทหาร เพราะขัด
                  กับเสรีภาพทางความคิด มโนธรรม และความเชื่อทางศาสนาที่เขานับถืออย่างแท้จริง และรัฐต้องให้ความเคารพ

                  บนพื้นฐานของหลักการดังกล่าว  ซึ่งรัฐอาจให้บุคคลดังกล่าวมีทางเลือกในการรับใช้ชาติอย่างอื่น เช่น ทำางาน
                  บริการสาธารณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาวุธ  โดยรัฐภาคีต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติที่แตกต่างแก่ผู้คัดค้านโดยอ้าง
                  มโนธรรม (Conscientious Objectors)  และต้องมีมาตรการที่รัฐต้องพิจารณาให้เชื่อได้ว่า  บุคคลนั้นเป็น

                  ผู้มีความคิด มโนธรรม และความเชื่อทางศาสนาอย่างแท้จริง  ต่อมาภายหลังมีการเรียกร้องสิทธิดังกล่าวมากขึ้น
                  ทำาให้บางประเทศออกกฎหมายยกเว้นการรับราชการทหารโดยบังคับแก่บุคคลที่มีความคิด มโนธรรม และ
                  ความเชื่อทางศาสนาอย่างแท้จริงดังกล่าว  แต่อย่างไรก็ตาม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ประเทศต่างๆ

                  เช่น สหราชอาณาจักร สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส
                  สเปน อิตาลี และโปรตุเกส ได้ยกเลิกการรับราชการทหารโดยบังคับ และกว่า ๑๐๓ ประเทศ การรับราชการทหาร
                  เปลี่ยนแปลงให้มีระบบสมัครใจดังปรากฏในตารางข้อ ๓.๓.๑

                       สำาหรับประเทศไทยเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งมีหน้าที่

                  ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าว  และต้องคำานึงถึงหลักการสำาคัญของสิทธิมนุษยชนที่
                  ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพ มีความเสมอภาค ทั้งความคิด และการกระทำาที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้  ทุกคนจึงมี
                  อิสระที่จะเลือกกำาหนดในชีวิตของตนเอง  การบังคับให้กระทำาใดๆ ก็ตามโดยที่ไม่สมัครใจย่อมเป็นการจำากัด

                  สิทธิและเสรีภาพ  การรับราชการทหารกองประจำาการจึงต้องไม่ใช่เรื่องของการเกณฑ์หรือการบังคับ ดังเห็นได้
                  จากในประเทศต่างๆ  การรับราชการทหารสอดคล้องหลักการด้านสิทธิมนุษยชนโดยให้ความเป็นอิสระ

                  ในการตัดสินใจ ใช้หลักมโนธรรมและความเชื่อทางศาสนา รวมถึงการให้สิทธิที่จะมีทางเลือกอื่นในการรับใช้ชาติ
                  (Alternative National Service)  ประกอบกับกฎหมายภายในของประเทศไทย คือ พระราชบัญญัติ
                  รับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นกฎหมายที่บังคับใช้มานานและยังไม่สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศ

                  ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  เกี่ยวกับการรับราชการทหารกองประจำาการโดยสมัครใจ เห็นว่า
                  ควรทบทวน ศึกษา และวิจัยเกี่ยวกับการทหารในต่างประเทศ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นระบบสมัครใจมากกว่าการใช้
                  กฎหมายมาบังคับสิทธิเสรีภาพและสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน  รวมทั้งแนวทางการแก้ไข

                  ปัญหาแก่บุคคลผู้มีความคิด มโนธรรม และความเชื่อทางศาสนาอย่างแท้จริง  การพิจารณาจัดทางเลือก
                  ในการรับใช้ชาติที่ไม่ต้องปฏิบัติภารกิจในการสู้รบ หรือมีลักษณะงานพลเรือนเพื่อประโยชน์สาธารณะตาม
                  ความคิดเห็นทั่วไปของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจำากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ

                  สิทธิทางการเมือง ในข้อ ๔.๒ ข้างต้น  และมีมาตรการระยะสั้นในการเยียวยาหรือการป้องกัน เช่น มีกลไก หรือ
                  มีมาตรการคุ้มครองบุคคลที่มีความเชื่อทางศาสนาอย่างแท้จริง โดยให้มีการหลีกเลี่ยงการฝึกหรือปฏิบัติภารกิจ

                  ที่ต้องจับอาวุธ หรือให้ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ เป็นต้น
                       ๕.๒  การรับบุคคลเข้าเป็นทหารกองประจำาการของประเทศไทยใช้วิธีเรียกมาตรวจเลือก (บังคับ)

                  ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะมีการสมัครใจเข้าเป็นทหารกองประจำาการมากขึ้น เพราะกระทรวงกลาโหมได้มี
                  นโยบายเพิ่มเงินเดือนแก่ทหารกองประจำาการ  แต่พบว่าท้องที่อำาเภอใดเมื่อมีผู้สมัครใจเกินความต้องการของ

                  ท้องที่อำาเภอนั้น  ผู้ที่สมัครใจในส่วนที่เกินของท้องที่อำาเภอดังกล่าวจะไม่ได้รับให้เข้าเป็นทหารกองประจำาการ
                  ดังนั้น ควรให้ผู้ที่สมัครใจเข้าเป็นทหารกองประจำาการมีสิทธิเป็นทหารกองประจำาการทุกกรณี
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150