Page 146 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 146
144 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
๕.๓ การรับราชการทหารกองประจำาการ (เกณฑ์ทหาร) แม้กฎหมายเปิดโอกาสให้สมัครใจรับราชการ
ทหารกองประจำาการได้ แต่เนื่องจากจำานวนผู้สมัครใจมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของกองทัพ กฎหมาย
จึงกำาหนดให้ต้องมีการคัดเลือกโดยวิธีการจับสลาก ซึ่งทำาให้ได้ทหารกองประจำาการที่ไม่มีความเต็มใจ ควรส่งเสริม
หรือมีมาตรการจูงใจต่างๆ ให้มีการสมัครทหารกองประจำาการโดยสมัครใจมากกว่าการใช้กฎหมายมาบังคับ
เพื่อให้ได้ทหารกองประจำาการตามความต้องการของกองทัพ โดยมุ่งเน้นให้ทหารกองประจำาการได้รับ
สิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การบรรจุเป็นข้าราชการทหารในสังกัดกระทรวงกลาโหม รวมทั้งให้ทหาร
กองประจำาการมีรายได้ที่เพียงพอ มีค่าตอบแทน มีสิทธิประโยชน์ มีการฝึกอาชีพ เพื่อเป็นแรงจูงใจและมี
แนวโน้มให้สมัครใจเข้าเป็นทหารกองประจำาการมากขึ้น ทำาให้ได้ทหารกองประจำาการที่มีประสิทธิภาพและ
เป็นประโยชน์ต่อกองทัพ
๕.๔ ปัจจุบันกระทรวงกลาโหมมุ่งเน้นให้ได้กำาลังพลทหารกองประจำาการให้เพียงพอต่อความต้องการ
ของกองทัพ โดยใช้พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ และกฎกระทรวงต่างๆ คัดเลือกทหาร
กองประจำาการทำาให้ได้ทหารกองประจำาการที่ไม่สมัครใจ ดังนั้น ควรกำาหนดเป้าหมายในการลดหรือการเลิกใช้
กฎหมายมาบังคับให้ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำาการ จนนำามาสู่การได้ทหารกองประจำาการที่มี
ความสมัครใจอย่างแท้จริงต่อไป
๕.๕ สำาหรับกรณีที่สำานักงานตำารวจแห่งชาติจะเสนอให้มีตำารวจกองประจำาการ (ตำารวจเกณฑ์) เนื่องจาก
ปัจจุบันสำานักงานตำารวจแห่งชาติประสบปัญหากำาลังตำารวจในระดับปฏิบัติการและหากให้มีตำารวจกองประจำาการ
จะสามารถประหยัดงบประมาณ โดยมีเงื่อนไขในการรับสมัครตำารวจกองประจำาการเบื้องต้น คือ ต้องเป็นไป
ตามความสมัครใจนั้น เห็นว่า เป็นเรื่องที่ดีที่สำานักงานตำารวจแห่งชาติให้ความสำาคัญเกี่ยวกับเรื่องความสมัครใจ
มากกว่าใช้กฎหมายมาบังคับ และควรหารือร่วมกันกับ ๓ เหล่าทัพเพื่อกำาหนดนโยบายความต้องการกำาลังพล
ในแต่ละปี รวมทั้ง กำาหนดสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้มีการสมัครใจเข้าเป็นทหารกองประจำาการ
และตำารวจกองประจำาการมากยิ่งขึ้น
๖. ข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนพิจารณาแล้ว เห็นควรมีข้อเสนอแนะนโยบายต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ดังนี้
๖.๑ คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงกลาโหม (กรมการสรรพกำาลังกลาโหม สำานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน) ควรหารือร่วมกันศึกษากระบวนการรับราชการของทหารกองประจำาการ
ในต่างประเทศ เพื่อพิจารณาปรับปรุงให้เป็นระบบสมัครใจและสอดคล้องกับหลักการด้านสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน
รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหา หรือมีมาตรการระยะสั้นในการเยียวยา หรือการป้องกันแก่บุคคลผู้มีความคิด
มโนธรรมและความเชื่อทางศาสนาอย่างแท้จริง เช่น การหลีกเลี่ยงการฝึกหรือปฏิบัติภารกิจที่ต้องใช้อาวุธ หรือให้
ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ การจัดทางเลือกในการรับใช้ชาติที่ไม่ต้องปฏิบัติภารกิจในการสู้รบ หรือมีลักษณะงานพลเรือน
เพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นต้น