Page 22 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 22

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                                                                                               National Human Rights Commission of Thailand

                                                1. กรอบคิดการวิจัย




               1.1 ความเปนมา

                        ปญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยไดขยายตัวไปอยางกวางขวางในทุกมิติและทุกพื้นที่
               โดยเฉพาะในดานที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอันเปนฐานชีวิตของประชาชนสวนใหญของประเทศ แมคณะกรรมการ

               สิทธิมนุษยชนแหงชาติ (กสม.) จะไดแตงตั้งอนุกรรมการดานที่ดินและปาใหทําหนาที่ตรวจสอบเรื่องรองเรียน
               การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิทธิในการจัดการที่ดินและปาไมอยางแข็งขัน ตลอดจนจัดทําขอเสนอแนะ

               การแกไขปญหาเชิงนโยบายและกฎหมาย ระเบียบตลอดจนแนวปฏิบัติที่เกี่ยวของ รวมทั้งทําการศึกษาวิจัยสาเหตุ
               ของปญหาการละเมิดสิทธิ ตลอดจนสงเสริมใหเกิดความรูความเขาใจและพัฒนากลไกการคุมครองสิทธิของประชาชน

               ดานสิทธิในการจัดการที่ดินและปาไมมาตั้งแตป พ.ศ. 2552 แลว เรื่องรองเรียนการละเมิดสิทธิประชาชนเกี่ยวกับ
               เรื่องที่ดินและปาก็ยังไมมีทีทาวาจะลดลง แตกลับเพิ่มขึ้นเปนจํานวนมากกวา 500 เรื่อง (นับตั้งแตป พ.ศ. 2544

               เปนตนมา) ทั้งจากหนวยงานของรัฐและจากเอกชน ซึ่งจากการตรวจสอบเรื่องรองเรียนดังกลาวนี้ไดพบการละเมิด
               สิทธิในหลายรูปแบบหลายลักษณะ นอกเหนือจากการกระทําของเจาหนาที่ของรัฐที่ไมเหมาะสม การทุจริต

               การเลือกปฏิบัติ
                        จากขอมูลหลักฐานเชิงประจักษพบวา เหตุปจจัยรากเหงาของขอพิพาทสวนใหญเกิดจากโครงสราง

               นโยบายและกฎหมายในหลายแงมุม อาทิ ระเบียบกฎหมายเกาแกลาสมัยไมสอดคลองกับบริบทของสังคม
               กฎหมายมีความซับซอน การเลือกใชกฎหมาย ฯลฯ สงผลใหเกิดการใชอํานาจรัฐและกระบวนการยุติธรรม

               อยางไมเหมาะสมเปนเครื่องมือละเมิดสิทธิของประชาชนอยางกวางขวาง และเปนเหตุใหมีเรื่องรองเรียนเขามายัง
               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติและหนวยงานอื่น ๆ ของรัฐเปนจํานวนมากจนตรวจสอบไมทัน ยิ่งกวานั้น

               ในการเชิญเจาหนาที่รัฐและบุคคลที่เกี่ยวของมาไตสวนใหขอมูลและความเห็นเกี่ยวกับนโยบายและกฎหมาย
               ยังพบวา มีประเด็นทางกฎหมายจํานวนมากที่แมแตพนักงานเจาหนาที่ของรัฐ รวมทั้งนิติกรและนักวิชาการ

               ดานกฎหมายเองก็สับสน ไมสามารถใหคําตอบไดเพราะไมมีความรูหรือความรูเกาไมทันสมัย แตใชหลักฐาน
               ตามความเขาใจของตนสงฟองศาล และศาลก็มิไดออกไปไตสวนหาขอเท็จจริง จึงมักเชื่อหลักฐานของเจาหนาที่รัฐ

               มากกวาหลักฐานความเปนจริงเชิงประจักษในพื้นที่ ประชาชนจึงมักแพคดีอันเนื่องจากไมไดรับความเปนธรรม
               จากกระบวนการยุติธรรมดังกลาว จนตองออกมารองเรียนและชุมนุมประทวงกันตามที่ทราบกันดีแลว

                        การแกปญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาจึงไมเพียงแคการตรวจสอบการละเมิด
               สิทธิมนุษยชนอันเปนการแกปญหาที่ปลายเหตุที่นับวันจะมีจํานวนเพิ่มขึ้นมากเทานั้น แตจะตองแกไขปญหา

               เชิงโครงสรางที่นโยบายและกฎหมาย อันเปนเหตุใหเกิดการปฏิบัติอยางไมเปนธรรมและละเมิดสิทธิประชาชนดวย
               แตงานศึกษาวิจัยในปจจุบันซึ่งสวนใหญเปนงานวิจัยของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถาบันวิจัย

               เพื่อการพัฒนา สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และองคกรพัฒนาเอกชนดานทรัพยากร พบวา มีจํากัดไมมากนัก
               และไมครอบคลุมปญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งเกิดจากการกระทําของหนวยงานรัฐตาง ๆ งานวิจัยสวนใหญ






                                                                       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข  1
                                                                นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27