Page 9 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 9
IV รายงานการศึกษาวิจัย
เรื่อง สิทธิชุมชน และผลกระทบจากโครงการพัฒนาภาคใต
ของชุมชน ซึ่งเปนสิทธิโดยธรรมชาติหรือสิทธิขั้นพื้นฐานของชุมชน รวมทั้งเปนอํานาจอันชอบธรรมที่ชุมชนพึงมี
พึงไดอยางถูกตองชอบธรรม ซึ่งผูอื่นตองยอมรับและจะละเมิดหรือลิดรอนมิได และยังหมายรวมถึง การใหชุมชน
ชาวบานมีสิทธิในการเลือกอนาคตของตัวเอง เปนตัวของตัวเอง และเปนอิสระโดยตัวเอง รัฐธรรมนูญแหง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ไดมีการยอมรับสิทธิชุมชนเหนือทรัพยากรและสิ่งแวดลอมในชุมชนนั้นมากกวา
สิทธิของรัฐและสิทธิของเอกชนที่มีมาแตเดิม รวมทั้งทําใหประชาชนสามารถใชสิทธิชุมชนไดโดยไมตองรอใหมีการ
ออกกฎหมายตาง ๆ เสียกอน นอกจากนี้ ยังมีการคุมครองสิทธิชุมชนโดยบัญญัติใหโครงการที่อาจกอผลกระทบตอ
ชุมชนอยางรุนแรง จะตองมีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดลอมและสุขภาพ รวมทั้งจัดใหมีการรับฟงความคิดเห็น
ของชุมชนและประชาชน กอนที่จะมีการดําเนินโครงการและรับรองสิทธิของชุมชนในการฟองรองหนวยงานรัฐ
ใหปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ดังรายละเอียดตามบทบัญญัติในสวนที่ ๑๒ วาดวยสิทธิชุมชน ตามมาตรา ๖๖ และ
มาตรา ๖๗
จากผลการศึกษาผลกระทบของโครงการพัฒนาภาคใตตอสิทธิชุมชนเปนชุดแผนงาน และโครงการ
ขนาดใหญที่มีผลกระทบกวางขวางหลากหลายมิติ อันมีสวนสัมพันธและเชื่อมโยงกับสิทธิมนุษยชนในมิติตาง ๆ ที่มี
ความเกี่ยวเนื่องอยางชัดเจนกับการพัฒนา อันประกอบไปดวยสิทธิในการกําหนดอนาคตและเจตจํานงของ
ตนเอง สิทธิในการพัฒนา สิทธิในมาตรฐานการครองชีพ สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออก และ
การรับหรือเผยแพรขอมูลขาวสาร รวมถึงสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งไดมีการบัญญัติไวตามรัฐธรรมนูญแหง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ไดแก บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในการกําหนดอนาคตและเจตจํานงของ
ตนเอง และสิทธิในการพัฒนาซึ่งไมมีบทบัญญัติโดยตรง สิทธิเหลานี้ไดรับการรับรองผนวกไวกับสิทธิดานอื่น ๆ
ในมาตรา ๒๖ ไววาการใชอํานาจโดยองคกรของรัฐทุกองคกรตองคํานึงถึงศักดิ์ศรีความเปนมนุษย สิทธิและ
เสรีภาพ และมาตรา ๕๗ ที่ใหรัฐตองจัดใหมีกระบวนการรับฟงความคิดเห็นของประชาชนอยางทั่วถึงกอนดําเนินการ
วางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม มาตรา ๗๘ ที่รัฐตองการกระจายอํานาจใหองคกร
ปกครองสวนทองถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของทองถิ่นไดเอง สงเสริมใหองคกรปกครองสวนทองถิ่น
มีสวนรวมในการดําเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแหงรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของทองถิ่นและระบบสาธารณูปโภค
และสาธารณูปการ มาตรา ๘๗ บัญญัติวารัฐตองดําเนินการตามแนวนโยบายดานการมีสวนรวมของประชาชน
โดยสงเสริมใหประชาชนมีสวนรวมในการกําหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งใน
ระดับชาติและระดับทองถิ่น สงเสริมและสนับสนุนการมีสวนรวมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมือง
การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการจัดทําบริการสาธารณะ บทบัญญัติอื่น ๆ วาดวยสิทธิดานสิ่งแวดลอม
ที่สงเสริมการมีสวนรวมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ซึ่งรวมถึงการอนุรักษ
การใชประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติอยางยั่งยืน ทั้งยังมีบทบัญญัติที่ใหความสําคัญแกองคกรปกครอง
สวนทองถิ่น โดยกําหนดใหตองกระจายอํานาจใหแกองคกรปกครองสวนทองถิ่นในการจัดบริการสาธารณะดานตาง ๆ
อันรวมถึงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ตามมาตรา ๘๕ (๑) (๔) และ (๕) บทบัญญัติวาดวยสิทธิ
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออก และการรับหรือเผยแพรขอมูลขาวสาร ในมาตรา ๕๖
และมาตรา ๕๗ บทบัญญัติวาดวยสิทธิในมาตรฐานการครองชีพ ในมาตรา ๔๓-๔๔ และมาตรา ๕๑-๕๒
แผนพัฒนาชายฝงทะเลภาคใตมีลักษณะเปนชุดโครงการขนาดใหญ ซึ่งการศึกษาและจัดทําแผนลวนแต
ไดรับการสนับสนุนและศึกษาโดยตางชาติ ซึ่งอยูภายใตการขับเคลื่อนและผลักดันของสํานักงานคณะกรรมการ