Page 11 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 11

VI       รายงานการศึกษาวิจัย
                เรื่อง  สิทธิชุมชน และผลกระทบจากโครงการพัฒนาภาคใต




                     นอกจากนี้ การจัดทําเวทีของโครงการวิจัย ทั้งการสนทนากลุม เวทีระดับจังหวัด และเวทีรวมของ
              กรณีศึกษา ๔ จังหวัด ไดมีสวนในการชวยหนุนเสริมและประสานชุมชนที่ไดรับผลกระทบจากโครงการพัฒนา
              ภาคใตใหมาประสานแลกเปลี่ยนกัน เชน ชุมชนจากกรณีโครงการเขื่อนและอางเก็บนํ้าตาง ๆ ไดมาพบปะพูดคุยกับ

              ชุมชนประมงชายฝงจากกรณีโรงไฟฟาถานหิน ทาเทียบเรือและนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดนครศรีธรรมราช

              ชุมชนที่ไดรับผลกระทบจากโครงการที่ไดดําเนินการไปแลวในจังหวัดสงขลาไดมาแลกเปลี่ยนทุกขและผลกระทบ
              จากโครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นแลว รวมถึงชุมชนที่ไดรับผลกระทบในสี่จังหวัดก็ไดมีเวทีแลกเปลี่ยนรวมกันเปนครั้งแรก
              ทําใหเกิดการประสานความรวมมือกันเพื่อที่จะผลักดันการพัฒนาภาคใตใหเปนไปในทิศทางการพัฒนาที่ตั้ง

              อยูบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและเศรษฐกิจชุมชนทองถิ่น ตลอดจนการพัฒนาที่คุมครองสิทธิชุมชน

                     ผลการศึกษาสรุปขอเสนอแนะจากจากเวทีวิจัยตอนโยบายและแผนงานระดับชาติ โดยไดมีการทบทวน
              แผนพัฒนาภาคใตใหเปนแผนพัฒนาที่คุมครองสิทธิชุมชน รวมทั้งประชาชนและชุมชนตองมีสวนรวมในการจัดทํา
              แผนตั้งแตแรกเริ่ม และตองคํานึงถึงสิทธิดานอื่น ๆ รวมถึงใหมีการประกาศเขตพื้นที่ภาคใตเปนเขตคุมครองผลิต

              อาหารของประเทศ และจัดทําทางเลือกของนโยบายและแผนของแตละจังหวัดในเชิงรุก โดยการสรางนโยบาย

              ยุทธศาสตรและแผนพัฒนาระดับจังหวัดที่ชาวบานมีสวนรวมในการกําหนดอนาคตของตนเองบนฐานทรัพยากร
              ตามแตละภูมินิเวศของทองถิ่น รวมถึงจัดทําการประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอมและสุขภาพโดยชุมชน ในพื้นที่
              เปาหมายของโครงการภายใตแผนพัฒนาภาคใต และควรใหมีการทบทวนรายงานการวิเคราะหผลกระทบ

              สิ่งแวดลอม (EIA) และรายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมและสุขภาพ (EHIA) ของโครงการในภาคใต

              ใหถูกตองในเรื่องการมีสวนรวมในการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจโดยคํานึงถึงสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ รวม
              ถึงควรมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกลไกในการพิจารณาอนุมัติรายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมและ
              รายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมและสุขภาพโดยใหมีองคกรอิสระในการจัดทํา และควรจัดใหมีกองทุน

              ใหชาวบานศึกษาผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดลอมคูขนานกับการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา

                     สวนขอเสนอแนะตอนโยบายและแผนงานโครงการระดับจังหวัด กรณีศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ
              ไดเสนอใหมีการทบทวนนโยบายการสงเสริมอุตสาหกรรมเหล็กตนนํ้า และพัฒนากรอบยุทธศาสตรจังหวัด
              ประจวบคีรีขันธตามกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับที่ ๑๑ ดานการอยูรวมกันอยางเปนสุข

              และเปนธรรม การกระจายรายได การผลิตที่เปนมิตรตอสิ่งแวดลอม ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน และเปน

              แผนอยางยั่งยืนที่รับผิดชอบตอคนรุนตอไป โดยประสานความรวมมือระหวางจังหวัดและประชาชนในการวาง
              ยุทธศาสตรและแผนพัฒนาจังหวัดรวมกัน ดวยทิศทางการพัฒนาจากศักยภาพและฐานทรัพยากรของชุมชน
              รวมทั้งขยายยุทธศาสตรจังหวัดเรื่องประมง และประมงพื้นบาน ซึ่งเปนประมงขนาดเล็กที่ทํามาหากินแถบชายฝง

              ที่ใชเรือขนาดเล็ก และเครื่องมือประมงงาย ๆ ที่ไมทําลายลาง ไมทําลายระบบนิเวศ และสรางการมีสวนรวมของ

              ภาคประชาชนในการจัดการและดูแลทรัพยากรธรรมชาติ โดยรวมกันยึดแนวทางการพัฒนาบนหลักการสิทธิชุมชน
              และการบริหารการจัดการสังคมที่มีการกระจายอํานาจและถายโอนลงสูชุมชนทองถิ่น
                     สําหรับกรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช ตองการมีสิทธิและมีสวนรวมในการกําหนดอนาคตของตนเอง

              ในการจัดทําแผนของชุมชน จังหวัด และกําหนดอนาคตของตนเองบนฐานทรัพยากร จารีต ประเพณี และวิถีชีวิต

              ของตนเอง และประกาศเขตคุมครองพื้นที่ผลิตอาหารชายฝงทะเลนครศรีธรรมราช พัฒนาเมืองที่พึ่งตนเองและ
              ยั่งยืน บนฐานเศรษฐกิจหลากหลายประเภท และการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเพื่อการพึ่งตนเองของเมือง
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16