Page 12 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 12

รายงานการศึกษาวิจัย    VII
                                                                 เรื่อง สิทธิชุมชน และผลกระทบจากโครงการพัฒนาภาคใต




                      สวนกรณีศึกษาจังหวัดสงขลา เสนอแนะใหมีการศึกษาผลกระทบของโครงการที่ไดสรางเสร็จและเปด
               ดําเนินการแลวอยางเปนระบบ ครอบคลุมทุกมิติ และศึกษาเรื่องกลุมผลประโยชนในแผนพัฒนาภาคใต ที่เปนการ
               จงใจออกแบบเพื่อใหไดประโยชนแกกลุมคนบางสวน รวมถึงจัดทําประเด็นรวมเรื่องอาหาร ที่ดิน ประมง และหยุด

               อุตสาหกรรม และมีสวนรวมในการจัดทําและกําหนดทิศทางการพัฒนาและแผนพัฒนาของชุมชนตนเองจังหวัด

               สงขลา
                      กรณีศึกษาจังหวัดสตูล เสนอแนะใหรัฐทบทวนแผนพัฒนาชายฝงทะเลภาคใตและโครงการขนาดใหญ
               ที่กําลังจะเกิดขึ้นในจังหวัดสตูล  และสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่จังหวัดสตูลบนฐานตนทุนทางสังคม

               ทรัพยากรธรรมชาติและศักยภาพของพื้นที่ โดยการมีสวนรวมของภาคประชาชนอยางแทจริง ตองจัดใหมีการ

               สํารวจ และศึกษาพื้นที่คุมครองเฉพาะ เพื่อประกาศใหเปนเขตอนุรักษทรัพยากรทางทะเลและชายฝงในระดับ
               ภูมินิเวศ สงเสริมใหมีการการจัดตั้งเครือขายองคกรชุมชนประมงพื้นบาน และสนับสนุนกลุมเหลานั้นใหดูแล
               รักษา และฟนฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝง สนับสนุนการทองเที่ยวโดยชุมชน และสงเสริมการศึกษาทางเลือก

                      สวนขอเสนอแนะของผูวิจัยตอคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ในเชิงนโยบายควรผลักดันใหมีการ

               ทบทวนแผนพัฒนาภาคใต โดยใหชุมชนมีสวนรวมในการพิจารณากําหนดอยางแทจริง และควรผลักดันใหเกิดการ
               ปฏิรูประบบในการจัดทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม (EIA) และรายงานการวิเคราะหผลกระทบ
               สิ่งแวดลอมและสุขภาพ (EHIA) ควรรีบเรงผลักดันพระราชบัญญัติสิทธิชุมชน และควรผลักดันใหมีการปรับปรุง

               กฎหมายและกฎกระทรวง และระเบียบของหนวยงานตาง ๆ ที่เกี่ยวของกับการจัดทํายุทธศาสตรและแผนพัฒนา

               การพัฒนาสาธารณูปโภค การจัดตั้งพื้นที่อุตสาหกรรมและอื่น ๆ ใหสอดคลองกับหลักการสิทธิชุมชนและ
               สิทธิมนุษยชน ตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ตามบทบัญญัติของมาตรา ๖๗ วรรค ๒
                      สําหรับขอเสนอแนะตอการดําเนินการเชิงรุก ควรผลักดันใหเกิดการปรับปรุงระบบ กระบวนการ และ

               กลไก ในการจัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอมใหอนุวัตรตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ โดยการจัด

               เวทีใหความรูความเขาใจเกี่ยวกับเรื่องสิทธิชุมชนและระบบการจัดทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม
               ประสานเครือขายนักวิชาการเพื่อปฏิรูประบบการจัดทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม และทําใหเรื่อง
               สิทธิชุมชนมีการสื่อสารตอสาธารณะในวงกวาง รวมถึงการใชกระบวนการยุติธรรม โดยการฟองรองในกรณี

               ที่เกี่ยวของกับการจัดทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมตอคณะกรรมการผูชํานาญการหรือหนวยงานรัฐ

               ใหปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญควรสงเสริมและขยายรูปแบบการประสานการมีสวนรวมกับหนวยงานรัฐ
               ในการจัดทํายุทธศาสตรและแผนพัฒนาจังหวัดโดยประชาชนมีสวนรวม และผลักดันใหเกิดการประกาศพื้นที่
               คุมครองแหลงผลิตอาหารในภาคใต โดยใชกลไกองคกรปกครองสวนทองถิ่นในการประกาศขอบัญญัติตาม

               บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17