Page 44 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 44
รายงานการศึกษาวิจัย ๒๕
เรื่อง สิทธิชุมชน และผลกระทบจากโครงการพัฒนาภาคใต
- กลุมที่ ๓ โครงการที่กอใหเกิดหรืออุตสาหกรรมที่มีความใกลชิดกับโครงการสะพาน
เศรษฐกิจสงขลา–ปนัง–เมดาน ไดแก อุตสาหกรรมการกลั่นนํ้ามันและแยกกาซธรรมชาติ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ
และพลังงาน ซึ่งประกอบไปดวย ๒ แผนงาน คือ ๑) แผนการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรม และ ๒) แผนการจัดตั้งกิจการ
รวมผลิตรวมลงทุน โดยไดรับการสนับสนุนดวยมาตรการพิเศษ
ปจจุบันไดมีการพัฒนาโครงสรางพื้นฐานตาง ๆ ตอเนื่องมาโดยตลอด ยกเวนการพัฒนา
ทอพลังงานในเสนทางปนัง-สงขลา ทั้ง ๆ ที่มีการพยายามผลักดันของมาเลเซียมาเปนระยะ ๆ แตก็ยังไมสามารถ
ดําเนินการได เนื่องจากรัฐบาลไทยไมเห็นชอบ ดวยเกรงวาจะมีผลกระทบกับสะพานเศรษฐกิจพลังงานของประเทศไทย
ผลสําคัญของโครงการนี้ตอการพัฒนาภาคใตก็คือ แผนแมบทเพื่อการพัฒนาพื้นที่
๕ จังหวัดชายแดนภาคใต เพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจสามฝาย IMT-GT ซึ่งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ ไดมอบหมายใหสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติเปนผูรับผิดชอบ
และตอมาก็ไดมีการจัดจาง บริษัท Seatec จํากัด เปนผูดําเนินการศึกษาและจัดทําแผน ในระหวางเดือนกันยายน
๒๕๓๘ - เดือนมกราคม ๒๕๔๐
๔.๒ ยุทธศาสตรประเทศและแผนงานระดับชาติที่เปนกลไกสําคัญในการผลักดันและสนับสนุน
แผนพัฒนาภาคใต
จากกรอบความรวมมือตาง ๆ ที่จะรวมผลักดันใหภูมิภาคอาเซียนเปนศูนยกลางที่สําคัญของโลกดานขนสง
พลังงาน และอุตสาหกรรมตอเนื่องดานปโตรเคมี ผนวกกับการที่ทรัพยากรปโตรเลียมในอาวไทยอุดม
ทั้งนํ้ามันดิบและกาซธรรมชาติ อีกทั้งตําแหนงที่ตั้งทางภูมิศาสตรของประเทศไทยก็อยูตรงศูนยกลางอาเซียน และ
สามารถเชื่อมตอกับประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ ตลอดจนมีศักยภาพที่จะพัฒนาเปนศูนยกลางเศรษฐกิจโลก
ในอนาคตได (รูปภาพที่ ๔)
รูปภาพที่ ๔ ภูมิศาสตรที่ตั้งของประเทศไทยในอาเซียนและโลก
ที่มา : อาภา (๒๕๕๕)