Page 21 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 21
XVI รายงานการศึกษาวิจัย
การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี
ในการดูแลรักษาผูติดเชื้อเอชไอวี เพื่อเปนการขจัดมายาคติอันเปนสาเหตุสําคัญของการเลือกปฏิบัติ
โดยในการรณรงคใหความรูเพื่อสงเสริมและคุมครองสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
ควรผนวกเนื้อหาที่ครอบคลุมถึงสิทธิมนุษยชนของผูติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งจําเปนตองรวมไปถึงการเสริมความรู
เรื่องการติดเชื้อเอชไอวีความกาวหนาในการดูแลรักษาผูติดเชื้อเอชไอวี เพื่อเปนการขจัดมายาคติอันเปน
สาเหตุสําคัญของการเลือกปฏิบัติ และจําเปนตองใหความรูกับหนวยงานที่เกี่ยวของ เพื่อใหมีความรูความเขาใจ
ที่ถูกตองตอการคุมครองสิทธิมนุษยชนของผูติดเชื้อเอชไอวีดวย
3.2.3 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ตองเรงดําเนินการตรวจสอบและเสนอมาตรการ
การแกไขโดยเร็ว ในกรณีที่มีขอรองเรียนเรื่องการเลือกปฏิบัติตอผูติดเชื้อเอชไอวี ไมวาจะเปนเรื่องการประกอบอาชีพ
หรือเรื่องการศึกษาซึ่งมีอิทธิพลตอการประกอบอาชีพในอนาคต เพื่อใหผูติดเชื้อเอชไอวีเขาถึงการคุมครอง
สิทธิมนุษยชนอยางรวดเร็ว และในกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ไมสามารถแกไขปญหา
การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อได ใหพิจารณาเสนอเรื่องไปยังกลไกในกระบวนการยุติธรรม
8
ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ไดแก ศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 257 (3)) หรือศาลปกครอง (มาตรา 257 (4)) ในกรณี
ที่เปนการละเมิดสิทธิจากภาครัฐ เปนโจทกฟองคดีตอศาลยุติธรรมในกรณีที่เปนการละเมิดสิทธิในภาคเอกชน
(มาตรา 257 (5)) หรือเปนโจทกรวมฟองคดีกับผูเสียหาย เพื่อสรางบรรทัดฐานการไมเลือกปฏิบัติและ
การคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวีในอนาคต
3.2.4 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ควรเสนอแนะใหรัฐบาล โดยกระทรวงแรงงาน
ใหความสําคัญกับประเด็นการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี มีการรณรงค
ใหสาธารณชนเห็นความสําคัญของปญหาการเลือกปฏิบัติมากขึ้น ตลอดจนผลักดันใหมาตรการปองกัน
การเลือกปฏิบัติที่มีอยูเกิดผลในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะแนวปฏิบัติแหงชาติวาดวยการปองกันและบริหารจัดการ
ดานเอดสในสถานที่ทํางาน ของ คช.ปอ. และแนวปฏิบัติการปองกันและจัดการดานเอดสในสถานประกอบกิจการ
ของกระทรวงแรงงาน ทั้งนี้เปนไปตามบทบัญญัติเรื่องการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 28 (2)
แหงพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ พ.ศ. 2542 ตลอดจนควรสงเสริมใหมีการเจรจา
9
แบบไตรภาคีเพื่อหาขอตกลงรวมและแนวปฏิบัติเพื่อการขจัดการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพและการ
สงเสริมการคุมครองสิทธิกลุมผูติดเชื้อเอชไอวีในสวนของนโยบายการจางงานของสถานประกอบการตาง ๆ ทั้งนี้
เปนไปตามอํานาจหนาที่ตามบทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 257 (7)
10
โดยใหความสําคัญกับประเด็นดังตอไปนี้
8 รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 257
“(2) เสนอเรื่องพรอมดวยความเห็นตอศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผูรองเรียนวา บทบัญญัติแหงกฎหมายใดกระทบตอสิทธิมนุษยชนและ
มีปญหาเกี่ยวกับความชอบดวยรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
(3) เสนอเรื่องพรอมดวยความเห็นตอศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผูรองเรียนวา กฎ คําสั่ง หรือการกระทําอื่นใดในทางปกครองกระทบตอ
สิทธิมนุษยชนและมีปญหาเกี่ยวกับความชอบดวยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(4) ฟองคดีตอศาลยุติธรรมแทนผูเสียหาย เมื่อไดรับการรองขอจากผูเสียหาและเปนกรณีที่เห็นสมควรเพื่อแกไขปญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเปนสวนรวม
ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
9 พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 28 (2) “ในการกําหนดมาตรการการแกไขปญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนตามวรรคหนึ่ง
คณะกรรมการอาจกําหนดใหบุคคลหรือหนวยงานดําเนินการตามอํานาจหนาที่ดวยวิธีใดที่เห็นเหมาะสม เพื่อปองกันมิใหมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในลักษณะ
ทํานองเดียวกันอีกได”
10 รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 257 (7) “สงเสริมความรวมมือและการประสานงานหนวยราชการ องคการเอกชน และองคการ
อื่นในดานสิทธิมนุษยชน”