Page 16 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 16
๒
ขนส่งรางคู่และท่อพลังงานที่จะเชื่อมการขนส่งระหว่างฝั่งอันดามัน(สตูล) และอ่าวไทย (สงขลา)
โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ในหลายจังหวัดของภาคใต้ รวมถึงโครงการก่อสร้าง
เขื่อน อ่างเก็บน้ํา การผันน้ําระหว่างลุ่มน้ําเพื่อที่จะรองรับความต้องการการขยายตัวของ
ภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมีการดําเนินโครงการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการ
จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช รวมถึงความเป็นไปได้ในการสร้าง
โรงถลุงเหล็กในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และสงขลา เป็นต้น โครงการภายใต้กรอบคิดการพัฒนา
อุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลดังกล่าวข้างต้น ได้ก่อให้เกิดการคุกคามต่อสิทธิชุมชนอย่างกว้างขวาง
ทั้งนี้จะเห็นได้จากสถิติของจํานวนกรณีเรื่องร้องเรียนภายใต้คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและ
ฐานทรัพยากรในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จากการดําเนินงานที่ผ่านมาพบว่ามีกรณีที่
ชาวบ้านร้องเรียน เรื่องสิทธิชุมชนที่เกิดผลกระทบจากโครงการที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับแผนพัฒนาชายฝั่ง
ทะเลภาคใต้กว่า ๖๐ กรณี ทั้งนี้กรณีเรื่องร้องเรียนส่วนใหญ่กว่า ๕๐ กรณี จะอยู่ในพื้นที่ที่เป็นเป้าหมาย
ของการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักในภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา
และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงมีความจําเป็นที่จะต้องดําเนินการศึกษาผลกระทบต่อสิทธิชุมชนที่เกิดขึ้น
จากการดําเนินโครงการภายใต้แผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดการคุ้มครอง
สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ
๑.๒ วัตถุประสงค์โครงการ
๑) เพื่อศึกษานโยบายและการบริหารจัดการโครงการพัฒนาภาคใต้ และผลกระทบต่อสิทธิ
ชุมชน
๒) เพื่อจัดทําข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการบริหารจัดการโครงการพัฒนาภาคใต้ เพื่อ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชน
๑.๓ ขอบเขตงานของโครงการ
๑.๓.๑ พื้นที่และกรณีศึกษา
โครงการจะดําเนินการศึกษาในพื้นที่ ๔ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัด
นครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล โดยศึกษาจากกรณีร้องเรียนที่มีต่อคณะอนุกรรมการ
ด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาภาคใต้