Page 15 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 15

บทที่ ๑


                                                         บทนํา




                  ๑.๑  ความเป็นมาของโครงการ


                           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติให้ความคุ้มครองสิทธิชุมชนตาม

                  มาตรา ๖๖ ซึ่งกําหนดให้บุคคลที่รวมตัวกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมี
                  สิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ และมี

                  ส่วนร่วมในการจัดการ การบํารุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง

                  ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน  และตามมาตรา ๖๗ ก็ได้กําหนดให้มีการคุ้มครอง
                  สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บํารุงรักษา และการได้ประโยชน์จาก

                  ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพ
                  สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดํารงชีพได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

                  อนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน และยังกําหนดให้รัฐต้องดําเนินการให้มีส่วนร่วมของ

                  ประชาชนในการกําหนดนโยบายและวางแผนพัฒนา ทั้งระดับชาติและท้องถิ่น  ตามมาตรา ๘๗ วรรค ๑
                  และ ๒ โดย (๑) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

                  สังคม ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ

                  ตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการจัดทําบริการสาธารณะ

                         แนวนโยบายและการบริหารแผนพัฒนาในระดับประเทศที่ผ่านมาและในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ยัง

                  ถูกกําหนดมาจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนในส่วนกลาง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ที่รัฐได้กําหนดให้มี

                  แผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมหนัก ในพื้นที่ภาคตะวันออก ภายใต้แผนพัฒนา
                  ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จนพัฒนาสู่ช่วงแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในระยะที่สามในปัจจุบัน

                  การพัฒนาในพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นระยะเวลากว่า ๓๐ ปี ดังกล่าว ได้นําไปสู่ผลกระทบต่อสิทธิชุมชน

                  หลากหลายด้าน ปัจจุบันรัฐกําลังขยายโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมหนักสู่
                  พื้นที่ภาคใต้ภายใต้โครงการแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยใช้รูปแบบและชุดแผนพัฒนาจากพื้นที่

                  ชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งขณะนี้อยู่ในระยะเริ่มแรกของโครงการที่เป็นการเตรียมความพร้อมและ

                  ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและระบบโลจิสติกส์เพื่อที่จะรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต เช่น
                  โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ําลึกปากบาราและสงขลา โครงการก่อสร้างสะพานเศรษฐกิจด้วยระบบรถไฟ
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20