Page 56 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 56

54 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง




                             ๒.  เหยื่ออาชญากรรม  รวมทั้งภาพที่มีลักษณะอุจาดหรือทารุณโหดร้าย  หรือล่วงละเมิด

                  สิทธิส่วนบุคคล หรือส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง เกียรติยศ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เว้นแต่พนักงาน
                  สอบสวนดำาเนินการเพื่อประโยชน์แห่งคดี หรือได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหา เหยื่ออาชญากรรมหรือ

                  ผู้เสียหาย
                             ทั้งนี้เห็นได้ว่า ตำารวจภูธรจังหวัด น. ได้จัดแถลงข่าวอันเป็นการขัดแย้งกับคำาสั่งสำานักงาน

                  ตำารวจแห่งชาติ ที่ ๔๖๕/๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐ ซึ่งปรากฏเป็นภาพของผู้ร้องเรียนใน

                  ฐานะผู้ต้องหาในหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับ
                             ผู้ตรวจการแผ่นดินได้พิจารณาข้อเท็จจริงตามคำาร้อง เอกสารหลักฐาน และคำาชี้แจงของ

                  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีประเด็นให้พิจารณาสองประเด็น กล่าวคือ ประเด็นแรก การตรวจยึดสิ่งของ
                  นอกเหนือจากคำาสั่งศาลสามารถกระทำาได้หรือไม่ นั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

                  ได้ให้อำานาจพนักงานสอบสวนสามารถตรวจยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำาความผิด หรือซึ่ง
                  อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ การตรวจค้นยึดสิ่งของนอกเหนือจากหมายค้นที่ศาลระบุไว้ พนักงาน

                  สอบสวนสามารถกระทำาได้ตามนัยกฎหมายดังกล่าว

                             ประเด็นต่อมา การแถลงข่าวการตรวจยึดอาวุธโดยให้ผู้ร้องเรียนร่วมแถลงข่าวในฐานะ
                  ผู้ต้องหา เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ร้องเรียนหรือไม่ นั้น  ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                  พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้วางหลักกฎหมายไว้ว่าสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ย่อมได้รับ
                  ความคุ้มครอง  การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน

                  อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่
                  ส่วนตัว จะกระทำามิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

                             ดังนั้น การที่ผู้บัญชาการตำารวจภูธรภาค กับผู้บังคับการตำารวจภูธรจังหวัด น. มิได้จัดการ

                  ป้องกันมิให้สื่อมวลชนเข้าบันทึกภาพของผู้ร้องเรียนในระหว่างการตรวจสอบอาวุธปืนตามภาพข่าว
                  ที่ปรากฏ เป็นการกระทำาที่ทำาให้ผู้ถูกกล่าวหาอยู่ในสภาพเหมือนถูกสังคมตัดสินล่วงหน้าแล้วว่า

                  เป็นผู้กระทำาผิด อันเป็นการไขข่าวแพร่หลาย และน่าจะกระทบต่อเกียรติยศ ชื่อเสียงของผู้ร้องเรียน
                  ในฐานะที่เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด  กรณีจึงเป็นการเข้าข่ายการปฏิบัติที่ขัดต่อสิทธิขั้น

                  พื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
                             ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วจึงให้สำานักงานตำารวจแห่งชาติได้พิจารณาตรวจสอบ

                  ความบกพร่องและดำาเนินการตามอำานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแก่เจ้าหน้าที่ตำารวจ ที่ก่อให้เกิดการกระทำา

                  ที่อาจเข้าข่ายอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน อีกทั้งน่าจะเป็นการฝ่าฝืนต่อคำาสั่งของ
                  สำานักงานตำารวจแห่งชาติ

                  ที่มา: http://www.ombudsman.go.th/10/report3_2.html
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61