Page 61 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 61
คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 59
การปฏิบัติตามมาตรา ๖๗ วรรค ๒ หรือคณะกรรมการร่วม ๔ ฝ่าย ซึ่งได้มีข้อเสนอต่อรัฐบาลเกี่ยวกับ
การกำาหนดประเภทโครงการ หรือกิจการที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้าน
คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จำานวน ๑๘ รายการ เมื่อรัฐบาลได้รับข้อเสนอ
ของคณะกรรมการร่วม ๔ ฝ่าย แทนที่จะปฏิบัติตามรัฐบาล แต่กลับแต่งตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม
แห่งชาติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๓๕ และได้ออกประกาศกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำาหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติ สำาหรับโครงการหรือ
กิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ
และสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนจะต้องจัดทำารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๕๓ ตามกฎหมายนี้ โดยประกาศดังกล่าวได้กำาหนดประเภทโครงการหรือกิจการ
ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงเพียง ๑๑ ประเภท (จากเดิม ๑๘ ประเภท) จึงมีโครงการ
หรือกิจการอีกจำานวนมากที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง แต่ไม่เข้าข่ายต้องจัดทำารายงาน
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
โดยที่ปัญหาผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรมกรณีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
เป็นปัญหาที่ชุมชนในหลายพื้นที่ทั่วประเทศประสบและได้รับความเดือดร้อนในลักษณะเดียวกัน
กสม. จึงได้ศึกษาและจัดทำารายงานข้อเสนอแนะของ กสม. ต่อกรณีร้องเรียนของเครือข่ายประชาชน
ภาคตะวันออก ซึ่งมีข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายข้างต้น แบ่งเป็น ๓ ประเด็น คือ
๑. การปฏิบัติตามพันธกรณีในการเคารพสิทธิของประชาชน : รัฐควรทบทวน ปรับปรุง
ประกาศกระทรวงฯ ฉบับนี้ ให้ครอบคลุมประเภทโครงการที่อาจมีผลกระทบรุนแรง
ต่อชุมชน และควรทบทวนประเภทโครงการทุก ๒ ปี
๒. การปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกรณีในการปกป้องสิทธิฯ : รัฐควรปรับปรุงระบบ กลไก
กระบวนการทำา และวิธีการตรวจสอบ EIA/HIA ที่โปรงใส และน่าเชื่อถือ คำานึงถึง
ความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ
๓. การปฏิบัติตามพันธกิจการดำาเนินมาตรการที่ทำาให้สิทธิของประชาชนเกิดผล : รัฐ
ควรส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับและทุกมิติ ตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๘๗ เร่งนำาเครื่องมือ
การประเมินผลกระทบทางกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment-RIA) มาใช้
และทบทวนการใช้ตัวชี้วัดอื่นๆ ในการวัดผลสำาเร็จของการพัฒนาประเทศ โดยไม่อิง
แต่เฉพาะตัวชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวในประเทศ (GDP) ซึ่งเน้นการวัดด้านเศรษฐกิจ
เท่านั้น