Page 60 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 60

58 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง




                         v  ส่งเรื่องร้องเรียนผ่านองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน ตามที่

                             คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกำาหนด
                         v  ส่งเรื่องร้องเรียนโดยตรงถึงกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือเจ้าหน้าที่สำานักงาน

                             คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                         การร้องเรียนเป็นหนังสือต้องมีรายละเอียด ดังนี้

                         v  ชื่อ-ชื่อสกุล / ที่อยู่ ของผู้ร้องเรียนหรือผู้ทำาการแทน ที่สามารถติดต่อกลับได้

                         v  ชื่อ-ชื่อสกุล ของบุคคลหรือหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นธรรม / กระทำาการ
                             ให้เกิดความเดือดร้อน / หรือเป็นผู้ละเมิดสิทธิ

                         v  รายละเอียดการกระทำาหรือเหตุการณ์ที่ประสบปัญหาเดือดร้อน / ได้รับการปฏิบัติ
                             ที่ไม่เป็นธรรม / หรือมีการละเมิดสิทธิ

                         v  ลายมือชื่อผู้ร้องหรือผู้ทำาการแทนที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากผู้มีสิทธิยื่นคำาร้อง




                  ตัวอย่�งก�รร�ยง�นที่คณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติได้เสนอต่อรัฐสภ�

                  กรณีสิทธิต�มรัฐธรรมนูญ พุทธศักร�ช ๒๕๕๐ ม�ตร� ๖๗

                  มาบตาพุด:  รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและพัฒนาอุตสาหกรรม ๑๙

                             สืบเนื่องจากโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก นับแต่ พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้พัฒนา
                  เป็นนิคมอุตสาหรรม และเมืองอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ในปีพ.ศ. ๒๕๓๒ โดยนิคมอุตสาหกรรม

                  มาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นหนึ่งในการพัฒนาดังกล่าว ประเด็นที่ประชาชนในพื้นที่เรียกร้องอย่าง
                  ต่อเนื่อง คือ ขอให้ภาครัฐแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำาและอากาศ อันเนื่องจากการประกอบอุตสาหกรรม

                  ในพื้นที่ การขาดแคลนน้ำาดื่มและน้ำาใช้ การขาดระบบสาธารณูโภคและบริการสาธารณสุขที่สามารถ
                  รองรับจำานวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทั้งที่เป็นประชากรในพื้นที่และประชากรแฝง ซึ่งรัฐบาลได้มีความ

                  พยายามแก้ปัญหามาบตาพุด กล่าวคือ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้นำาระบบธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมมาใช้
                  แต่ปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ประชาชนจึงรวมตัวกันยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง

                             ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาลปกครองมีคำาสั่งให้ดำาเนินการควบคุม ลด และ

                  ขจัดมลพิษตามที่กฎหมายกำาหนดภายใน ๔๕ วัน รวมทั้งมีคำาสั่งคุ้มครองชั่วคราว ๗๖ โครงการ และ
                  เร่งรัดให้ภาครัฐปฏิบัติตามมาตรา ๖๗ วรรค ๒ แห่งรัฐธรรมนูญโดยเคร่งครัด  ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๓

                  พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหา






                  ๑๙  รายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๓-๒๕๕๔
                     หน้า ๔๓-๔๔
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65