Page 21 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 21

คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 19








                        ๘.      ก�รประมวลสิทธินั้นบ่งชี้อะไร


                                กำ�หนดว่� ปัจเจกบุคคลกับรัฐมีคว�มสัมพันธ์กันเช่นใด




                            ในระดับชาติหรือระดับภายในประเทศนั้น ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายพื้นฐาน (basic law)

                     ของประเทศส่วนใหญ่ได้รับรองหลักการด้านสิทธิมนุษยชน และพันธกรณีของรัฐไว้ว่า เจ้าหน้าที่
                     ของรัฐควรจะเคารพหลักการเหล่านั้นเมื่อตนใช้อำานาจปฏิบัติหน้าที่ และเมื่อบัญญัติกฎหมาย

                     บังคับใช้กฎหมาย และตีความกฎหมายต่างๆ  รัฐธรรมนูญเกือบทั้งหมดล้วนมีหมวดหรือบท “สิทธิ
                     และเสรีภาพ” หรือ “สิทธิขั้นพื้นฐาน” ที่แจกแจงสิทธิมนุษยชนเอาไว้  โดยทั่วไปแล้วในรัฐธรรมนูญยังมี

                     หมวดหรือ “แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ” ที่เป็นแนวทางที่รัฐควรจะปฏิบัติตามเมื่อมีการตรากฎหมาย
                     หรือกำาหนดนโยบายของรัฐ  แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐนี้รวมถึงแนวปฏิบัติในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิ

                     มนุษยชน  ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงเป็นสิ่งประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และกำาหนดว่าเป็น
                     หน้าที่ของรัฐในการทำาให้สิทธิและเสรีภาพเหล่านั้นได้รับการปฏิบัติจริง

                            ในระดับระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นจากการที่
                     รัฐต่างๆ ร่วมกันร่างมาตรฐานสิทธิมนุษยชนร่วมกัน โดยที่รัฐต้องตระหนักและตกลงอย่างเป็น

                     ทางการร่วมกันที่จะเข้าผูกพันตามสนธิสัญญาด้วยการให้สัตยาบัน (Ratification) หรือการภาคยานุวัติ

                     (Accession)  สนธิสัญญาระหว่างประเทศหรือสนธิสัญญาระดับภูมิภาคเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐกับรัฐ
                     ซึ่งนำาไปใช้กับประชาชนที่รัฐเหล่านั้นมีเขตอำานาจ ภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศนี้เองที่รัฐต่างๆ
                     ได้ให้ข้อผูกพันที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้สนธิสัญญาเหล่านั้น  รัฐต่างๆเหล่านั้นยังได้ตกลง

                     ยินยอมให้มีการติดตามตรวจสอบโดยกลไกระหว่างประเทศ หรือกลไกในระดับภูมิภาคด้วย

                            ภาระผูกพันที่รัฐได้ทำาการตกลงกันไว้ในเวทีนานาชาติ หรือเวทีระดับภูมิภาคนั้นมีผลต่อ
                     ปัจเจกบุคคลที่อยู่ภายใต้เขตอำานาจและเป็นภาระผูกพันภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งรัฐนั้นๆ เรียกเป็น

                     คำาเฉพาะว่า “พันธกรณี” (obligations) ในระดับกว้าง  รัฐมีพันธกรณีในการทำาให้มั่นใจว่าสิทธิของ
                     บุคคลจะได้รับการเคารพ (respect) การปกป้องคุ้มครอง (protect) และการตอบสนอง หรือทำาให้

                     สิทธิเหล่านั้นเป็นจริง (fulfill)  กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ รัฐมีหน้าที่ควบคุมตัวเองไม่เข้าไปแทรกแซงสิทธิ
                     เสรีภาพของประชาชน (พันธกรณีในการเคารพสิทธิมนุษยชน respect)  รัฐต้องทำาการปกป้องคุ้มครอง

                     การสิทธิเสรีภาพของประชาชนในกรณีที่มีการคุกคามสิทธิเสรีภาพโดยบุคคลอื่น(พันธกรณีในการ
                     ปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน protect) และต้องดำาเนินการที่เหมาะสมในการทำาให้มั่นใจว่า มาตรฐาน

                     สิทธิมนุษยชนนั้นบรรลุผลและได้รับการตอบสนอง(พันธกรณีในการทำาให้สิทธิเป็นจริง fulfill) ดังนั้น
                     สิทธิมนุษยชนได้สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงสิทธิ (ปัจเจกบุคคล) และผู้มีหน้าที่ (รัฐ)
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26