Page 200 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 200
198 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
๖. ก�รเขียนร�ยง�น
การเขียนรายงานเป็นวิธีในการบันทึกและนำาเสนอข้อมูลอย่างมีระบบ จากการเก็บด้วย
กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริง เช่นเดียวกับการเก็บข้อมูล สิ่งสำาคัญคือ การกำาหนดวัตถุประสงค์ของ
การเขียนรายงานและกำาหนดกลุ่มเป้าหมาย (ผู้อ่าน)
รูปแบบม�ตรฐ�นของร�ยง�น
รายงานสิทธิมนุษยชนประกอบด้วยองค์ประกอบสำาคัญ ดังต่อไปนี้
ก. บริบททางการเมือง ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม รวมถึงสภาพการณ์เฉพาะที่
เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ หากมี
ข. รายละเอียดของเหตุการณ์ หรือ “การกระทำา” เกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นเมื่อใด เกิดขึ้นที่ไหน
และเกิดขึ้นอย่างไร
ค. รายละเอียดของเหยื่อ ใครคือเหยื่อ ให้รายละเอียดเอกลักษณ์บุคคลของเหยื่อ เว้นแต่
ว่ามีความเกรงกลัวเปิดเผยเพราะอาจเป็นการคุกคามความปลอดภัยของผู้ที่ตกเป็น
เหยื่อได้ อีกทั้งต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ให้ข้อมูลก่อนเปิดเผยข้อมูลเฉพาะของเขา
ง. รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำา เขาคือใครบ้าง
จ. บรรยายการละเมิด โดยเฉพาะว่าการกระทำาที่กำาลังพิจารณาอยู่นั้นน่าจะเป็นการละเมิด
เพราะเหตุผลใด เช่น เหตุใดจึงเป็นการซ้อมทรมาน การคุมขังโดยพลการ เป็นต้น
นอกจากนี้ให้อธิบายถึงข้อบกพร่องที่รัฐไม่ได้ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้าน
สิทธิมนุษยชน โดยมี
๑. การระบุการละเมิด
๒. การระบุมาตรฐาน เช่น มาตรฐานสิทธิมนุษยชน ที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดนั้นๆ
เช่น “สิทธิเสรีภาพจากการปลอดจากการคุมขังโดยพลการ หรือการปลอดต่อการ
คุมขังโดยพลการ”
๓. ควรระบุว่า อะไรคือแหล่งที่มาในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ให้ระบุชื่อ
ของสนธิสัญญา และระบุมาตรา หรือข้อที่เกี่ยวข้อง
๔. การระบุว่า สิทธิเหล่านั้นมีการยอมรับ หรือบัญญัติไว้ในกฎหมายภายในประเทศ
หรือรัฐธรรมนูญด้วยหรือไม่