Page 204 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 204
202 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
v เหตุจูงใจให้ผู้กระทำาการลงมือ คืออะไร
v ผู้มีส่วนร่วมในการกระทำามีทีท่าต่อกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงที่นำาโดยนาย ข อย่างไร
v ที่ผ่านมามีการข่มขู่นาย ข จากใครหรือไม่ หากใช่ ใคร ลักษณะการข่มขู่
v นาย ข ได้แจ้งความเรื่องการถูกกข่มขู่กับเจ้าหน้าที่ หรือไม่
หากใช่ เจ้าหน้าที่ดำาเนินการอะไรบ้าง
v รัฐบาลแสดงบทบาทอะไรกับกรณีเหมืองถ่านหินลิกไนต์
v ใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการเสียชีวิตของนาย ข
v รัฐมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการเสียชีวิตของนาย ข หรือไม่
๓. หลักการมาตรฐานที่นำาไปใช้
คำาถามข้างต้นช่วยให้ตัดสินใจได้ว่านาย ข เป็นเป้าหมายในการฆ่า เพราะบทบาทของ
นักสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังช่วยให้ตัดสินใจว่ารัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง
ในการเสียชีวิตของนาย ข หรือไม่
ในกรณีนี้ หากรัฐมีส่วนเกี่ยวข้องจะถือเป็นการประหารนอกกฎหมาย หากการ
ฆาตกรรมดังกล่าวเป็นการกระทำาของบุคคลอื่น รัฐมีหน้าที่ต้องดำาเนินการสืบสวน สอบสวน และ
ลงโทษผู้กระทำาการ หากรัฐไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในกรณีนี้
คำาถามควรเป็น “การบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวนเป็นไปอย่าง
ระมัดระวังตามสมควร (due diligence) หรือไม่
๔. การเตรียมการค้นหาข้อเท็จจริง
การแนวทางการค้นหาข้อเท็จจริง ควรคำานึงถึงสิ่งเหล่านี้
v ระบุแหล่งที่มาของข้อมูลทั้งระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ และเตรียมแนวคำาถามก่อน
การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การตั้งคำาถามต้องคำานึงถึงข้อมูลที่คุณต้องการ
v สัมภาษณ์
v รวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง
๕. การประเมินข้อมูลและการเขียนรายงาน
การค้นหาข้อเท็จจริงเริ่มต้นทันทีหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะเป็นไปได้หรือไม่ที่ตำารวจ
จะยังดำาเนินการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ในบางกรณีในช่วงท้ายของการค้นหาข้อเท็จจริงอาจยัง
ไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นที่บอกได้เพียงว่ามีเหตุการณ์อะไรบ้าง รายงานการค้นหา
ข้อเท็จจริงต้องสรุปข้อค้นพบที่เกี่ยวข้องในหลากหลายมุมมองและเกี่ยวข้องกับสิ่งที่องค์กรของคุณ
ต้องการนำาเสนอ