Page 202 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 202

200 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง




                         ๒.  มาตรฐานของการพิสูจน์ (standard of proof) รายงานการค้นหาข้อเท็จจริงควรเปิดเผย

                             โดยรวมว่า หลักฐานที่ใช้ในการสรุปมีระดับมาตรฐานเช่นใด หากหลักฐานไม่เพียงพอที่
                             จะทำาการสรุปให้ชัดเจนลงไปได้ก็ควรใช้วลีที่แสดงเงื่อนไข เช่น “ตามที่พยานได้กล่าวว่า

                             .......” หรือ “มีความเป็นไปได้ที่ .............” หรือ “ดูเหมือนอย่างมากกว่า”

                         ๓.  ความไม่โอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใด (impartiality) รายงานสิทธิมนุษยชนควรมีความสมดุล
                             ไม่ควรใช้คำาที่แสดงถึงการตีตรา หรือภาษาที่แสดงการตัดสินและกล่าวหา  รายงานควร

                             ระบุข้อเท็จจริง และให้ข้อเท็จจริงอธิบายด้วยตัวของมันเอง







                      ๑. ๗.   ตัวอย่�งก�รนำ�หลักก�รค้นห�ข้อเท็จจริง/ก�รไต่สวนข้อเท็จจริง
                              คณะกรรม�ธิก�รระหว่�งรัฐบ�ลอ�เซียนว่�ด้วยสิทธิมนุษยชน
                              และก�รตรวจสอบไปใช้
                              (ASEAN Inter-Governmental Commission on Human Rights -AICHR)




                         ในเบื้องต้นของบทนี้ได้อธิบายหลักการสำาคัญที่ช่วยในการสร้างกรอบในการค้นหาข้อเท็จจริง
                  ตามหลักการสิทธิมนุษยชนและการวางแผนเพื่อลงปฏิบัติการค้นหาข้อเท็จจริง สิ่งหนึ่งที่ต้องพึ่งระวัง

                  คือ ปัญหาสิทธิมนุษยชนนั้นมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์  มีความแตกต่างตามข้อเท็จจริงและบริบทที่
                  เกี่ยวข้อง จึงยากต่อการกำาหนดแนวคำาถามที่ตายตัวและเป็นคำาถามที่สามารถนำาไปใช้ได้กับทุกกรณี

                  ดังนั้น สิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องคำานึงถึงและทำาความเข้าใจเสมอ คือ การประเมินสถานการณ์ตามหลักการ
                  สิทธิมนุษยชนที่อยู่บนพื้นฐานของบริบท และสภาวการณ์ของกรณีนั้นๆ

                         ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการอธิบายถึงการนำาหลักการการค้นหาข้อเท็จจริงไปใช้  โดยจะยก

                  ตัวอย่างที่แสดงข้อเท็จจริง  บริบทเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และการกำาหนดวัตถุประสงค์ของการค้นหา
                  ข้อเท็จจริงที่ถือว่าเป็นสิ่งจำาเป็นของกระบวนการนี้ โดยอธิบายกระบวนการวิเคราะห์ที่ช่วยในการ

                  ค้นหาข้อเท็จจริงและการประเมินสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังให้แนวทางในการใช้แนวคิดสิทธิมนุษยชนใน
                  กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริง ผู้อ่านควรกลับไปดูเนื้อหาการค้นหาข้อเท็จจริงในตอนต้นของบทที่ ๔ นี้

                  เพื่อให้เข้าใจถึงขั้นตอนการอธิบายกระบวนการในกรณีศึกษาตัวอย่างนี้


                  ข้อเท็จจริงของกรณีศึกษ�

                         ในวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ พบนาย ข ถูกฆ่าตายในเวลากลางวัน ขณะที่เขายืนอยู่หน้า

                  บ้านของตนเอง มือปืนสวมหมวกกันน็อคพร้อมมอเตอร์ไซด์ ยิงกระสุน ๕ นัดเข้าที่ตัวเขา หลังจากที่ยิง
                  แล้วก็ขี่มอร์เตอร์ไซด์หนีไป นาย ข เจ็บปวดจากบาดแผลที่ศรีษะและหน้าอก และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

                         นาย ข เป็นนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมเขาเป็นผู้นำาในการชุมนุมประท้วงต่อต้านโครงการ
   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207