Page 201 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 201
คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 199
๕. การระบุว่าอะไร คือ พันธกรณีของรัฐที่แสดงการเคารพต่อมาตรฐานสิทธิมนุษยชน
นั้นๆ ขึ้นตอนที่รัฐควรดำาเนินการเพื่อประกันว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนจะ
ไม่เกิดขึ้นอีก มีอะไรบ้าง
๖. กรณีเฉพาะที่ได้ทำาการค้นหาข้อเท็จจริง ก็ต้องมีการตอบคำาถามว่า “การกระทำา
ที่กระทำาหรือการละเลยของรัฐ อะไรบ้างที่เอื้อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ตัวอย่างเช่น กระบวนการทางกฎหมายอะไร ที่รัฐไม่ได้ปฏิบัติใช้และจึงส่งผลให้มี
การตั้งข้อกล่าวหาว่ามีการคุมขังโดยพลการ หรือว่ารัฐได้ใช้กำาลังเกินขอบเขตใน
ขณะที่กระทำาการคุมขัง รัฐบาลได้มีถ้อยแถลง หรือการดำาเนินการอะไรที่เกี่ยวข้อง
กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่
ฉ. ข้อเสนอแนะ เช่น รัฐบาลควรดำาเนินการเยียวยาอะไรที่เหมาะสม
จ. รายงานค้นหาข้อเท็จจริง ควรมีรายละเอียดอื่นๆ ที่แนบไว้ในภาคผนวก ดังต่อไปนี้
๑. คณะทำางานเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงดำาเนินการตามข้อกำาหนดใด
๒. รายชื่อคณะทำางาน หรือจะไม่ระบุรายชื่อคณะทำางานก็ได้หากมีการตัดสินใจ
เป็นมั่นเหมาะเช่นนั้น
๓. รายละเอียดเอกสาร ที่ใช้ในการจัดทำารายงาน
๔. ถ้อยแถลง หรือความพยายามกระทำาการ
๕. รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ให้สัมภาษณ์ เหตุการณ์แวดล้อมขณะสัมภาษณ์ ไม่ว่าจะเป็น
ช่วงระยะเวลาในการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ที่ระมัดระวังเป็นไปได้หรือไม่ เป็นการ
สัมภาษณ์โดยเปิดเผยหรือเป็นส่วนตัว พยานถูกข่มขู่ระหว่างการให้สัมภาษณ์หรือไม่
หรือมีการปกป้องพยานอย่างไร
๖. รายละเอียดของการลงไปเก็บข้อมูล ณ สถานที่เกิดเหตุ รายละเอียดสถานที่ที่สำารวจ
รายละเอียดการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล และการให้ความสะดวกแก่
คณะผู้เก็บข้อมูลโดยรัฐบาล
๗. มีหลักฐานใดหรือไม่ที่คณะผู้ค้นหาข้อเท็จจริง เลือกที่จะไม่ใช้ในการจัดทำารายงาน
บ้างหรือไม่
ข้อควรระลึกถึงในขณะเขียนร�ยง�น
๑. ความแม่นยำา (accuracy) ควรต้องมีความแม่นยำาเกี่ยวกับข้อมูลที่นำามาไว้ในรายงาน
เพื่อประกันว่าข้อมูลนั้นแม่นยำา ต้องมีการตรวจสอบข้อมูล หรือเชื่อมโยงข้อมูลกับ
ข้อเท็จจริงที่ได้รวมรวมมาจากหลายๆแหล่ง ดังนั้นขณะที่เก็บข้อมูลต้องทำาการบันทึก
และจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบระเบียบ