Page 193 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 193
คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 191
๔. ก�รประเมินข้อมูลที่ได้เก็บม�แล้ว
ผู้ค้นหาข้อเท็จจริงต้องประเมินพยานหลักฐานที่ได้เก็บรวบรวมมาแล้วอยู่ตลอดเวลา และ
ประเมินว่าข้อมูลเหล่านั้นเพียงพอที่จะตอบวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้หรือยัง
ก�รประเมินลักษณะพย�นหลักฐ�น
ในบางกรณี อาจพบว่ามีข้อมูลโดยตรงไม่มากเท่ากับแหล่งข้อมูลของกลุ่มผู้ก่อการ หรือ
เพราะพยานต่างเกรงกลัวหรือว่ามีการขัดขวางการเข้าสู่พื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล ในกรณีดังที่ว่านี้อาจ
เก็บข้อมูลหลักฐานทางอ้อมได้พอที่จะประกอบสร้างรูปแบบของการทำาร้าย ตัวอย่างเช่น คำาให้การ
ของเหยื่อที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาจากที่คุมขังแล้ว และผู้ที่มีชีวิตรอดจากการซ้อมทรมานจากที่
คุมขังนั้น
หลายๆกรณีที่ข้อมูลที่มีนั้นเชื่อถือไม่ได้ หรือมีอคติ เช่นนี้ การแยกคัดแยกข้อมูลออกเป็น
ส่วนๆ เพื่อให้เห็นระดับความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์ได้เกิดขึ้น โดยเทียบเคียงข้อมูลที่ได้มาจากหลาก
หลายแหล่งนั้นซึ่งกันและกันเรื่องราวที่ประกอบขึ้นจากการปะติดปะต่อข้อมูลหลายๆชิ้นนั้นควรมี
ความสอดคล้องกัน ความน่าเชื่อถือและความเชื่อถือได้ การประกอบข้อมูลเข้าด้วยกันเช่นนี้ เพื่อชี้
ให้เห็นว่าเป็นการรวบรวมการละเมิดอาจได้เกิดขึ้น เรียกว่า การหาหลักฐานสนับสนุนข้อเท็จจริง
(corroboration)
ก�รประเมินข้อมูลที่ได้เก็บม�แล้ว ว่�พย�นหลักฐ�นเพียงพอที่จะบรรลุต�มเป้�หม�ย
ของก�รค้นห�ข้อเท็จจริง หรือไม่
หากเป้าหมายของการค้นหาข้อเท็จจริง คือ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล และส่งจดหมายแสดง
ความห่วงใยให้เจ้าหน้าที่รัฐ นั่นอาจเพียงพอแล้วที่จะพึ่งรายงานขั้นทุติยภูมิที่ได้รับมาจากองค์กรอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม หากเป้าหมายเป็นการสืบให้ทราบว่า ถึงกรณีที่มีการกล่าวว่ามีการละเมิดเกิดขึ้นและ
เพื่อที่จะร้องหาความรับผิดชอบจากรัฐ ก็ต้องกำาหนดมาตรฐานว่าอะไรเป็นข้อพิสูจน์ให้สูงขึ้น แต่หาก
ต้องการที่จะแสดงรูปแบบการละเมิด เช่น การซ้อมทรมาน ก็ต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการซ้อมทรมาน
ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งใดในจำานวนที่เพียงพอแก่การที่จะแสดงว่ามีรูปแบบของการละเมิด
รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเกิดขึ้น