Page 189 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 189

คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 187








                                                            ๒.๒

                                    กำ�หนดวัตถุประสงค์และเป้�หม�ยในก�รค้นห�ข้อเท็จจริง


                            จากที่ได้เกริ่นไว้แล้วว่าการค้นหาข้อเท็จจริงนั้นมีได้หลายรูปแบบ และมีได้หลายเป้าหมาย
                     หลายวัตถุประสงค์  ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มทำาการค้นหาข้อเท็จจริง ผู้มีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูลต้องมี

                     จุดสนใจและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนร่วมกันเพราะจะช่วยในการจัดเตรียมแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล

                            ควรต้องมีการคิดถึงสิ่งที่จะทำาต่อเนื่องหลังจากที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลแล้วไว้ด้วย เพราะจะ
                     ช่วยให้เกิดความชัดเจนขึ้นว่า อะไรจะถือเป็นข้อพิสูจน์ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ต้องการและช่วยในการ

                     วางแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อเท็จจริง
                            เกณฑ์มาตรฐานของการพิสูจน์ หมายถึงความสมดุลของความน่าจะเป็น ความน่าจะเป็น

                     หมายถึงผลการประเมินความเป็นไปได้ว่าอะไรได้เกิดขึ้นในเหตุการณ์ที่กำาลังค้นหาข้อเท็จจริงอยู่


                                                            ๒.๓

                                               ก�รทบทวนเกณฑ์ม�ตรฐ�นที่ใช้


                            ก่อนที่จะเริ่มเก็บข้อมูล สิ่งหนึ่งที่จำาเป็น คือ การทบทวนศึกษามาตรฐานระหว่างประเทศและ

                     ระดับชาติที่ใช้อยู่ในกรณีดังกล่าว เกณฑ์มาตรฐานเหล่านี้ช่วยในการจำาแนกรายละเอียดของข้อมูลที่
                     ต้องมีการเก็บ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของตำารวจ
                     สิ่งที่ต้องทบทวนหรือศึกษาก่อน คือ เกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการประหารชีวิตนอกกฎหมาย

                     หรือการใช้กำาลัง และการใช้อาวุธปืน


                                                            ๒.๔

                                                     ก�รระบุแหล่งข้อมูล


                            v  การระบุแหล่งข้อมูล ควรหาแหล่งที่จำาเป็นให้ได้มากเท่าที่เป็นไปได้ ขั้นตอนการจำาแนก
                                แหล่งข้อมูล มีดังนี้

                            การระบุองค์ประกอบการค้นหาข้อเท็จจริงเบื้องต้น ตัวอย่างเช่น กรณีข้อหาการประหารชีวิต

                     นอกกฎหมายผู้ต้องสงสัย สิ่งที่ต้องค้นหาข้อมูลพื้นฐาน มีดังต่อไปนี้
                                _  ใครคือเหยื่อ

                                _  ใครคือผู้ต้องสงสัยที่ถูกฆ่า
                                _  พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นขณะเกิดการฆ่า (เมื่อใด และที่ไหน คือ วัน เวลา และสถานที่)

                                _  เหยื่อถูกฆ่าอย่างไร
                                _  ใครเป็นผู้พบศพ พบศพเมื่อไหร่ พบศพที่ไหน และในสภาพใด
   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194