Page 188 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 188
186 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
๒. ขั้นตอนก�รค้นห�ข้อเท็จจริง
ในการค้นหาข้อเท็จจริง สิ่งที่ต้องเน้นคือพิจารณาว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น
หรือไม่ จากนั้นก็ต้องหาข้อมูลและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง โดยการตั้งคำาถามว่า “ใคร” “อะไร”
“เมื่อไหร่” “ที่ไหน” “อย่างไร” และ“ทำาไม” (‘who’, ‘what’, ‘when’, ‘where’, ‘how’ and ‘why’)
เพื่อให้คำาถามเหล่านี้มีประสิทธิผล ผู้ค้นหาข้อเท็จจริงต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการ
ค้นหาข้อเท็จจริง บ่งชี้แหล่งข้อมูล เก็บรวบรวมหลักฐาน และการประเมินข้อมูลที่เก็บมาได้ ขั้นตอน
การค้นหาข้อเท็จจริงมี ดังต่อไปนี้
๒.๑
ทำ�คว�มเข้�ใจเบื้องหลัง และบริบท
เมื่อได้รับข้อมูลที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเตรียมการค้นหาข้อเท็จจริง ต้องมีการ
ศึกษาเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเสียก่อน ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยในการระบุ จำาแนกบริบททางสังคม เศรษฐกิจ
การเมือง กฎหมาย และวัฒนธรรม
ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ได้รับข้อมูลมาว่า มีชายชาวกลุ่มชาติพันธุ์ถูกฆ่าตายระหว่างการยิง
ตอบโต้กันกับตำารวจ ตำารวจกล่าวหาว่าเขาเป็นผู้ค้ายาเสพติด ในกรณีนี้จะเป็นประโยชน์หากเราได้
ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของตำารวจต่อกลุ่มผู้ค้ายาเสพติด
โดยตั้งคำาถาม เช่นว่า
_ “เคยมีเหตุการณ์ที่ผู้ค้ายาเสพติดต้องสงสัยว่าถูกฆ่าระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของ
ตำารวจเกิดขึ้นหรือไม่ กี่กรณี”
_ “เคยมีการทบทวนหรือศึกษากรณีเหล่านั้นว่าเป็นการยิงเพื่อหวังแก่ชีวิตของ
ตำารวจ เป็นไปตามหลักนิติธรรม หรือไม่”
_ “มีกลุ่มใดที่เป็นเป้าหมายเฉพาะของการปฏิบัติหน้าที่ของตำารวจ หรือไม่”
_ “มีแนวทางปฏิบัติหรือนโยบายอะไรที่กำาหนดให้ ตำารวจปฏิบัติการเช่นนั้น ในการ
ควบคุมการค้ายาเสพติด หรือไม่”
การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและบริบทช่วยในการวางแผนการค้นหาข้อเท็จจริงได้