Page 194 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 194

192 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง





                     ๕.      ก�รบันทึกข้อมูล






                         การบันทึกข้อมูลเป็นสิ่งจำาเป็นที่สุดในการเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ
                  มีความจำาเป็นเพื่อให้แน่ใจว่า การเก็บรวบรวมและในการเผยแพร่ข้อมูลมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
                  การบันทึกข้อมูลมีด้วยกัน ๒ รูปแบบ ดังต่อไปนี้

                         v  บันทึกในรูปแบบร้อยแก้วหรืออิสระ (free text)  การบันทึกข้อมูลเป็นการนำาเสนอข้อมูล
                             ในรูปแบบของประโยค และย่อหน้า ตัวอย่างเช่น เอกสารแสดงข้อเท็จจริง (fact-sheets)
                             ที่ได้จากการค้นหาข้อเท็จจริง

                         v  บันทึกในรูปแบบแบบมาตรฐาน (standard formats) วิธีการนี้ ข้อมูลจัดเก็บจะถูก
                             แบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลของพยานคนใดคนหนึ่งสามารถแบ่งออก

                             เป็นหัวข้อต่างๆ เช่น ชื่อ อายุ ศาสนา อาชีพ เป็นต้น  แบบฟอร์มมาตรฐานใช้ในกรณี
                             ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และในการรายงานการละเมิด อย่างกรณี การวิสามัญฆาตรกรรม การ
                             จับกุม การหายสาบสูญ เป็นต้น  แบบฟอร์มมาตรฐานนี้จะทำาให้ง่ายต่อการจำาแนก

                             รูปแบบการละเมิด เช่น สถานที่ที่เกิดการละเมิด วิธีการละเมิด การระบุข้อกล่าวหา
                             เป็นต้น  แบบฟอร์มมาตรฐานนี้จะหมายถึง แบบฟอร์มที่นำาไปด้วย หรือแบบสอบถาม

                             ที่องค์กรนำาไปใช้บ่อยๆ เพื่อการรวบรวมข้อมูล


                  หลักก�รพื้นฐ�นในก�รบันทึกข้อมูล

                         แม้ว่าจะใช้รูปแบบการบันทึกข้อมูลแบบร้อยแก้ว แต่ก็ต้องคำานึงถึงหลักการพื้นฐานในการเก็บ
                  ข้อมูล ดังต่อไปนี้

                         v  เกี่ยวกับการกระทำา : รายละเอียดการกระทำา ประกอบด้วย
                             b  อะไรเกิดขึ้น เช่น การซ้อมทรมาน การฆ่า

                             b  วิธีการ (อย่างไร) เช่น การซ็อตด้วยไฟฟ้า การยิง
                             b  เหตุผลที่น่าจะอยู่เบื้องหลังการกระทำา  (ทำาไม)  เช่น  การปราบปรามการเคลื่อนไหว

                                ของสหภาพแรงงาน
                             b  การกระทำานั้นเกิดขึ้นเมื่อใด เช่น วัน เวลา
                             b  การกระทำานั้นเกิดขึ้นที่ไหน เช่น สถานที่

                         v  ข้อมูลเกี่ยวกับเหยื่อ (ใครคือเหยื่อ) ข้อมูลที่ควรรวบรวม มีเช่น ชื่อ นามสกุล อายุ  เพศ
                             สภาวะ เชื้อชาติ อาชีพ ที่อยู่ สัญขาติ เลขบัตรประจำาตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง

                             ในกรณีที่เป็นชาวต่างประเทศ หรือ ข้อมูลสำาคัญที่เกี่ยวข้อง
                         v  ข้อมูลเกี่ยวกับผู้กระทำา (ใคร) หากเป็นไปได้ ควรมีข้อมูล ชื่อ อายุ เพศสภาวะ ตำาแหน่ง
                             และยศ เป็นต้น
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199