Page 142 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 142
140 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
๑. ๑๒. สิทธิในก�รแสวงห�และได้รับที่หลบภัย/ลี้ภัย
คณะกรรม�ธิก�รระหว่�งรัฐบ�ลอ�เซียนว่�ด้วยสิทธิมนุษยชน
(Right to seek and enjoy asylum)
(ASEAN Inter-Governmental Commission on Human Rights -AICHR)
คนทุกคนมีสิทธิที่จะแสวงหาและได้รับที่หลบภัย/ลี้ภัยในประเทศอื่นเพื่อหลีกหนี จากถูก
ข่มเหง เบียดเบียนที่หลบภัย/ลี้ภัยคือสิทธิในขั้นตอนสุดท้ายของบุคคลที่ไม่สามารถพึ่งพารัฐของตนให้
ปกป้องตนเองได้และถูกบีบบังคับให้ต้องหลบหนีจากดินแดนถิ่นกำาเนิดของตนเพื่อแสวงหา
การปกป้องจากรัฐอื่น
อย่างไรก็ตามบุคคลไม่อาจได้รับสิทธินี้ในกรณีที่การถูกข่มเหงเบียดเบียนนั้นมาจาก
อาชญากรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างแท้จริงหรือมีเหตุผลที่ยืนยันได้อย่างจริงจังว่าบุคคลที่
กำาลังแสวงหาที่หลบภัยนั้นได้ก่ออาชญากรรมที่ทำาลายสันติสุขอาชญากรรมสงคราม หรืออาชญากรรม
ต่อมนุษยธรรม
ข้อกังวลเกี่ยวกับสิทธิของผู้ลี้ภัยและผู้แสวงห�ที่พักพิงในประเทศไทย
ประเทศไทยต้องรับรองผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นจากประเทศเพื่อนบ้านมาโดยตลอด อย่างไร
ก็ตาม ผู้แสวงหาที่พักพิงเหล่านี้มักถูกควบคุมตัวไว้ในค่ายที่พักพิงและศูนย์ควบคุมตัว ซึ่งเป็นเหตุให้มี
๔๒
การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานะของผู้ลี้ภัย พ.ศ. ๒๔๙๔ (1951
Convention Relating to the Statues of Refugees) และไม่มีกฎหมายว่าด้วยผู้ลี้ภัยหรือขั้นตอน
๔๓
ปฏิบัติอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการแสวงหาที่พักพิง การขาดกรอบกฎหมายเช่นนี้ทำาให้ผู้ลี้ภัยและ
ผู้แสวงหาที่พักพิงอยู่ในสภาพเสี่ยงอันตราย ทำาให้เกิดความไม่แน่นอนต่อความเป็นอยู่และสถานภาพ
๔๔
ในประเทศไทย มีค่ายที่พักพิงชั่วคราวหลายแห่งตามแนวพรมแดนกับพม่า ผู้ลี้ภัยจากพม่าอาศัย
อยู่ในค่ายที่พักพิงเหล่านี้ พวกเขาได้รับการคุ้มครองไม่ให้ถูกจับกุมและถูกส่งกลับ (เคลื่อนย้าย) ไปยัง
๔๕
ประเทศพม่า อย่างไรก็ตาม การที่ต้องอยู่ในค่ายที่พักพิง ทำาให้พวกเขาไม่มีเสรีภาพในการ
๔๒ ย่อหน้า ๕๑, A/HRC/WG.6/12/THA/2, เอกสารที่จัดตรียมโดยสำานักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่ง
สหประชาชาติ สำาหรับรายงานทบทวนสิทธิมนุษยชนตามวาระ (UPR) กรณีประเทศไทย
๔๓ Ad Hoc and Inadequate, Thailand’s Treatment of Refugees and Asylum Seekers, Human Rights Watch,
September 2012
๔๔ อ้างแล้ว
๔๕ อ้างแล้ว