Page 144 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 144
142 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
๒๕๕๖ และถูกดำาเนินคดีฐานเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ และการเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้น
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หลังจากนั้นไม่นาน เขาได้รับการประกันตัวและถูกไล่ออกในที่สุด
จากเหตุการณ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของผู้แสวงหาที่พักพิงในประเทศไทย ที่อาจ
ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์อันมาจากการขาดความคุ้มครองด้านกฎหมายในสถานะ
ผู้ลี้ภัย เพราะประเทศไทยไม่กำาหนดให้มีสถานะผู้ลี้ภัยตามกฎหมายในประเทศ และไม่ได้เป็นภาคีของ
อนุสัญญาว่าด้วยสถานะของผู้ลี้ภัย พ.ศ. ๒๔๙๔ (1951 UN Convention relating to the Status of
Refugees) เมื่อขาดความคุ้มครองด้านกฎหมาย เป็นเหตุให้ผู้แสวงหาที่พักพิงเสี่ยงต่อการถูกจับกุม
ควบคุมตัว และส่งกลับระหว่างอยู่ในเมืองไทย และเสี่ยงอย่างมากที่จะถูกใช้ประโยชน์และถูกกระทำา
อย่างมิชอบโดยเฉพาะจากบรรดาขบวนการค้ามนุษย์
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลระบุว่า ผู้แสวงหาที่พักพิงที่ถูกกระทำาอย่างมิชอบหรือถูกใช้
ประโยชน์ในไทย รวมทั้งผู้หญิงเหล่านี้ ต้องมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของไทยอย่างเต็มที่
และเท่าเทียม รวมทั้งต้องมีทนายความและล่ามที่เป็นอิสระ และจำาเลยในคดีนี้ก็ควรได้รับการคุ้มครอง
เพื่อรักษาสิทธิตามกฎหมายซึ่งเป็นไปตามข้อบท ๑๔ ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ซึ่งไทย
เป็นรัฐภาคี
นอกจากนั้น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังเรียกร้องทางการไทยให้มีการสอบสวนอย่าง
ถี่ถ้วนและอย่างรอบด้านต่อรายงานการค้ามนุษย์ทั้งหมด รวมทั้งข้อกล่าวหาที่ว่ามีเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง
กับเครือข่ายการค้ามนุษย์ ซึ่งกรณีนี้ไม่ใช่กรณีแรกที่ระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้องกับ
การค้ามนุษย์ เมื่อปลายเดือนมกราคม ๒๕๕๖ กองทัพบกมีคำาสั่งให้นายทหาร ๒ นาย คือ
นายทหารยศพันตรี และนายทหารยศร้อยโท ออกจากราชการไว้ก่อน หลังมีข้อกล่าวหาว่าเข้าไปพัวพัน
กับขบวนการค้ามนุษย์ในภาคใต้ ต่อมาได้มีการบรรจุเข้ารับตำาแหน่งใหม่ แต่ให้ย้ายไปปฏิบัติราชการ
ในหน่วยอื่นแทน และไม่มีการตั้งข้อกล่าวหากับพวกเขา
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุ หากพบว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนสนับสนุนการค้ามนุษย์
ควรถูกสั่งพักราชการโดยทันที และให้ดำาเนินคดีตามกระบวนการไต่สวนที่เป็นธรรม
สำาหรับกรณีผู้หญิงสามคนและเด็กหญิงสองคนที่เป็นเหยื่อในกรณีจังหวัดพังงา พวกเธอได้
เข้ามาอยู่ในที่พักพิงที่รัฐจัดให้ตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๕๖ พร้อมกับผู้หญิงและเด็กอีกกว่า ๕๕ คน
พวกเธอเป็นส่วนหนึ่งของชาวโรฮิงญาซึ่งเป็นชาวมุสลิมกลุ่มน้อยในรัฐยะไข่ของพม่าหลายพันคน
ที่หลบหนีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการเลือกปฏิบัติอย่างรุนแรงในพม่า และเดินทางมายัง
ประเทศไทยด้วยเรือขนาดเล็กในช่วงปลายป ๒๕๕๕ และต้นปี ๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
ทางการไทยประกาศให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเป็นระยะเวลาหกเดือนสำาหรับชาวโรฮิงญา
ในไทย ซึ่งประกาศดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖