Page 147 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 147
คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 145
๑๓. สิทธิในสัญช�ติ (Right to Nationality)
คนทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ สัญชาติถือเป็นความเกี่ยวดองทางกฎหมายระหว่าง
บุคคลกับรัฐ ซึ่งครอบคลุมถึงสิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมต่างๆ และหน้าที่ความรับผิดชอบ
ทั้งของบุคคลและของรัฐ
โดยหลักการแล้วบุคคลจะได้รับสัญชาติจากรัฐ หากเขาถือกำาเนิดในเขตแดนของรัฐนั้น หรือ
ได้รับสัญชาติผ่านทางการสืบเชื้อสายในกรณีที่เด็กได้รับสัญชาติของพ่อหรือแม่ และในบางกรณีก็ได้รับ
สัญชาติทั้งผ่านทางการถือกำาเนิดในเขตแดนของรัฐและทางการสืบเชื้อสายด้วย
ในหลายรัฐ บุคคลที่ได้พักอาศัยอยู่ในรัฐนั้นเป็นเวลานานและได้มีความเชื่อมโยงเกี่ยวดองกับ
รัฐนั้น เช่น แต่งงานกับพลเมืองของรัฐ ก็สามารถได้รับสัญชาติของรัฐนั้นเช่นกัน ไม่มีบุคคลใดสมควร
ที่จะ:
v ถูกพรากสัญชาติของตน
v ถูกปฏิเสธสิทธิในการเปลี่ยนสัญชาติด้วยวิธีการที่มิชอบด้วยกฎหมายการเลือกปฏิบัติ
อันเนื่องมาจากเหตุผลทางเพศไม่ควรมาเกี่ยวข้องกับการได้รับหรือสูญเสียสัญชาติ
โดยการแต่งงาน
ข้อกังวลเกี่ยวกับสิทธิในสัญช�ติ
ในประเทศไทยมีชนชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศมาอย่างยาวนาน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มี
ปัญหาเรื่องการยอมรับสิทธิพลเมือง ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ มีประชากรจำานวน ๕๔๑,๕๐๕ คน ที่ยังไม่มี
๔๙
สัญชาติ องค์กร The Coalition on Racial Discrimination Watch ได้กระตุ้นให้รัฐบาลไทย
พัฒนาระบบการรับรองสัญชาติและจัดสรรงบประมาณ รวมถึงเพิ่มบุคลากรให้มากขึ้นเพื่อให้การ
รับรองสัญชาติเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผล
๔๙ Statistics of Registration Office, Administration Division, Ministry of Interior, and as reported in Para 77
of the Shadow Report on Eliminating Racial Discrimination: Thailand, Coalition on Racial Discrimination
Watch, 2012. The report can be accessed from: http://www2.ohchr.org/english/bodies/cerd/docs/ngos/
CRDWThailand81.pdf