Page 145 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 145

คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 143







                            นอกจากจะมีผู้หญิงและเด็กชาวโรฮิงญาหลายร้อยคนที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในที่พักพิงแล้ว ยังมี

                     การควบคุมตัวชายชาวโรฮิงญาอีกกว่า ๑,๕๐๐ คนในสถานกักตัวคนต่างด้าวที่แออัดและขาดแคลน
                     ความสะดวก ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ต่างๆ ในจังหวัดภาคใต้ของไทยตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๕๖  เมื่อเร็วๆ นี้

                     แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลแสดงข้อกังวลเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ในศูนย์กักตัวเหล่านี้ โดยทำา
                     เป็นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลไทย ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ และยังเน้นประเด็นการเสียชีวิต
                     ที่เกิดขึ้น ในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖ มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอีกสองรายที่ศูนย์กักตัวในจังหวัด

                     สงขลา เป็นเหตุให้จำานวนชายชาวโรฮิงญาที่เสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัวเพิ่มจำานวนเป็นเจ็ดคน

                     นับแต่เดือนมกราคม ๒๕๕๖
                            แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลชี้ว่า การควบคุมตัวผู้แสวงหาที่พักพิงชาวโรฮิงญาและผู้เข้าเมือง

                     ตามสถานกักตัวคนต่างด้าวและที่พักพิงต่อไป เป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีอิสรภาพซึ่งได้รับการ
                     รับรองตามกติกา ICCPR โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สภาพการควบคุมตัวชายชาวโรฮิงญาไม่สอดคล้อง

                     กับมาตรฐานหลักเกณฑ์ขั้นต่ำาว่าด้วยการปฏิบัติต่อนักโทษแห่งสหประชาชาติ (UN Standard
                     Minimum Rules for the Treatment of Prisoners) จึงเรียกร้องรัฐบาลไทยควรปล่อยตัวผู้แสวงหา

                     ที่พักพิงและผู้เข้าเมืองที่ถูกควบคุมตัวอยู่ เพราะเป็นการกระทำาที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
                     และประกันว่าสภาพการควบคุมตัวพวกเขาสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศ

                     ทั้งยังควรกำาหนดให้มีกลไกระดับชาติเพื่อประกันว่า บุคคลซึ่งหลบหนีจากภัยคุกคามในประเทศของ
                     ตนเองและต้องการแสวงหาที่พักพิง สามารถเข้าถึงขั้นตอนปฏิบัติที่เป็นธรรมและเป็นผลอย่างเต็มที่

                     เพื่อให้มีการประเมินข้อเรียกร้องเพื่อขอที่พักพิง
                            ชาวโรฮิงญาหลายพันคนหลบหนีออกจากพม่าทางเรือมุ่งสู่ประเทศไทยและมาเลเซีย

                     ภายหลังความรุนแรงระหว่างชุมชนพุทธและมุสลิมในรัฐยะไข่เริ่มขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕
                     ความรุนแรงครั้งนั้นเป็นเหตุให้มีการบาดเจ็บล้มตายจำานวนมาก มีการทำาลายทรัพย์สินบ้านเรือนและ

                     ทำาให้คนต้องอพยพจำานวนมาก แม้ว่าชุมชนของทั้งสองศาสนิกในพม่าจะได้รับผลกระทบ แต่ผู้เป็น
                     เหยื่อส่วนใหญ่จะเป็นชาวโรฮิงญา โดยชาวโรฮิงญากว่า ๑๔๐,๐๐๐ คน ต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นอยู่

                     ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วรัฐยะไข่ ทางการพม่าไม่ยอมรับสถานภาพของชาวโรฮิงญาอย่างเป็นทางการ
                     และยังคงปฏิเสธไม่ให้พวกเขาเข้าถึงโอกาสที่จะมีสัญชาติ ซึ่งเป็นการกระทำาที่เลือกปฏิบัติ ทั้งยังมี

                     การจำากัดเสรีภาพในการเดินทางและสิทธิที่จะได้รับการศึกษา การทำางาน การแต่งงาน และการมี
                     ครอบครัวในระดับต่างๆ กัน
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150