Page 61 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 61
การใช้โทษประหารชีวิตได้มีจำานวนเพิ่มมากขึ้นในประเทศที่ยังคงมีการใช้โทษประหารชีวิต
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. ๒๐๐๘ - ๒๐๑๓ โดยประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศ
ที่พัฒนาแล้วอย่างเต็มรูปแบบ หากแต่ยังคงมีการใช้โทษประหารชีวิต ซึ่งการใช้โทษประหารชีวิต
มักปฏิบัติในประเทศที่มีความยากจน หรือประเทศที่มีการปกครองในรูปแบบเผด็จการซึ่งใช้การ
ประหารชีวิตสำาหรับการเมืองฝ่ายตรงข้าม ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ ประเทศที่มีการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยในกลุ่มประเทศละตินอเมริกาได้มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต
ซึ่งหลังจากนั้น มีการล้มของระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง ซึ่งได้นำาไปสู่
การรวมกลุ่มเป็นสหภาพยุโรป โดยสหภาพยุโรปได้มีการเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกมีการยกเลิก
การใช้โทษประหารชีวิต ซึ่งแตกต่างจากประเทศในทวีปเอเชีย โดยประเทศอุตสาหกรรม
ในเอเชียได้มีการเรียกร้องให้มีการใช้โทษประหารชีวิตมากขึ้น โดยได้รับการสนับสนุน
จากสาธารณะและไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาลหรือสื่อมวลชนมากนัก ซึ่งแนวโน้มการใช้
โทษประหารชีวิตดังกล่าวได้รับการปฏิบัติตามในประเทศในทวีปแอฟริกาและตะวันออกกลาง
ที่มีการสนับสนุนให้มีการใช้โทษประหารชีวิตมากขึ้น (Capital Punishment, 2008)
นอกจากนี้ ปัจจุบันบางประเทศได้มีการนำาโทษประหารชีวิตกลับมาใช้อีกครั้ง หลังจาก
ที่ไม่มีการใช้โทษประหารชีวิตมาเป็นระยะเวลานาน ดังเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาบางมลรัฐ
ซึ่งได้มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตในปี ค.ศ. ๑๙๗๒ ได้กลับมาใช้โทษประหารชีวิตอีกครั้ง
ในปี ค.ศ. ๑๙๗๗ ตลอดจนประเทศอินเดียซึ่งไม่มีการใช้โทษประหารชีวิตระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๙๕
– ๒๐๐๔ ได้หันกลับมาใช้โทษประหารชีวิตอีก หากแต่ปัจจุบันประเทศศรีลังกาได้มีการยกเลิก
โทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ ส่วนประเทศฟิลิปปินส์ได้มีการนำาโทษประหารชีวิตมาใช้อีกครั้ง
ในปี ค.ศ. ๑๙๙๓ หลังจากที่มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในปี ค.ศ. ๑๙๘๗ และมีการยกเลิก
การใช้โทษประหารชีวิตอีกครั้งในปี ค.ศ. ๒๐๐๖ ต่อมาจนถึงปัจจุบัน (Capital Punishment, 2008)
ก�รประห�รชีวิตเย�วชน
การประหารชีวิตเยาวชน คือ ผู้ที่มีอายุต่ำากว่า ๑๘ ปี ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ละเมิดต่อ
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of Child) โดยเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยปรากฏ
ให้เห็นมากนัก ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๙๐ มีประเทศที่มีการประหารชีวิตเยาวชน จำานวน ๙ ประเทศ
ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน คองโก อิหร่าน ไนจีเรีย ปากีสถาน ซาอุดิอาระเบีย ซูดาน
สหรัฐอเมริกา และเยเมน โดยสาธารณรัฐประชาชนจีน ปากีสถาน สหรัฐอเมริกา และเยเมน
ได้กำาหนดอายุขั้นต่ำาของผู้ถูกประหารชีวิตไม่ต่ำากว่า ๑๘ ปี โดยองค์การนิรโทษกรรมสากล
(Amnesty International) ได้บันทึกจำานวนเยาวชนที่ถูกประหารชีวิตนับตั้งแต่ปีดังกล่าว
เป็นจำานวน ๖๑ คน สำาหรับสาธารณรัฐประชาชนจีนได้มีการกำาหนดอายุขั้นต่ำาของผู้ถูกประหาร
ชีวิตไม่ต่ำากว่า ๑๘ ปี แต่ปรากฏว่าในทางปฏิบัติได้มีการประหารชีวิตผู้ที่มีอายุต่ำากว่า ๑๘ ปี
ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา ศาลสูงสุดได้มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตสำาหรับผู้ที่มีอายุ
48 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ