Page 111 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 111
๓) ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
๔) ความผิดทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ
๕) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันอันตรายต่อประชาชนหากมีการวางเพลิง
เผาทรัพย์
๖) ความผิดกับเพศหากการข่มขืนกระทำาชำาเราเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
หรือได้รับอันตรายสาหัส
๗) ความผิดต่อชีวิตหากผู้ใดฆ่าผู้อื่น
๘) ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพหากการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังนั้นเป็นเหตุให้
ถึงแก่ความตาย
๙) ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์หากเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
๑๐) ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
ประมวลกฎหม�ยอ�ญ�ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๔๖
เป็นประมวลกฎหมายอาญาฉบับปัจจุบันของไทยที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน เนื่องจาก
ความจำาเป็นที่ประเทศไทยจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสังคมโลกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมี
กฎกติกาสากลต่าง ๆ ที่เป็นหลักประกันในเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในชีวิต
และยับยั้งความไร้มนุษยธรรมในการประหารชีวิต รัฐบาลในขณะนั้นได้มีนโยบายในการปราบปราม
ยาเสพติดที่รุนแรง ทำาให้เกิดข้อกังขาต่อสายตาประชาคมโลก จึงจำาเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง
วิธีการประหารชีวิต จากวิธีการยิงเป้าเป็นวิธีการฉีดสารพิษเข้าสู่ร่างกาย เพื่อไม่ให้การประหารชีวิต
เป็นเรื่องของความรุนแรงป่าเถื่อน และเพื่อให้สังคมยอมรับวิธีการประหารชีวิต ประมวลกฎหมาย
อาญาบัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๑๙ ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำาเนินการโดยวิธีฉีดยาหรือสารพิษ
ให้ตาย” หลักเกณฑ์และวิธีการประหารชีวิตให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำาหนด
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ณัฐพร นครอินทร์, ๒๕๕๓)
นอกจากนี้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประหารชีวิตของประเทศไทยในปัจจุบัน
ประกอบด้วย
- ฐ�นคว�มผิดต�มกฎหม�ยที่กำ�หนดให้ต้องโทษประห�รชีวิต
สำาหรับฐานความผิดตามกฎหมายที่กำาหนดให้ต้องโทษประหารชีวิต ประกอบด้วย
98 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ