Page 110 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 110
สถานที่สาม ให้ปรับ
สถานที่สี่ ให้อยู่ภายในเขตอันมีจำากัด
สถานที่ห้า ให้ริบทรัพย์
สถานที่หก ให้เรียกประกันทัณฑ์บน
สำาหรับการประหารชีวิต มาตรา ๑๓ บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดต้องคำาพิพากษา
ให้ลงโทษประหารชีวิต ท่านให้เอามันไปตัดศีรษะเสีย” ส่วนความผิดที่จะลงโทษประหารชีวิต
ตามกฎหมายนี้ แบ่งตามลักษณะความผิดอันลงโทษประหารชีวิตในกฎหมายลักษณะอาญา
ร.ศ. ๑๒๗ มีดังนี้
๑) ความผิดฐานประทุษร้ายต่อพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชตระกุล
๒) ความผิดฐานประทุษร้ายต่อนายกรัฐมนตรี
๓) ความผิดฐานกบฏภายในราชอาณาจักร
๔) ความผิดฐานกบฏภายนอกราชอาณาจักร
๕) ความผิดทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ
๖) ความผิดฐานประทุษร้ายแก่ชีวิต
๗) ความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้เขาถึงแก่กรรม
พระร�ชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหม�ยลักษณะอ�ญ� พ.ศ. ๒๔๗๗
หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ทางรัฐบาลจึงได้นำา
ปัญหาวิธีการประหารชีวิตขึ้นมาวิเคราะห์แก้ไขใหม่ โดยได้ข้อสรุปว่าให้เปลี่ยนวิธีการประหารชีวิต
จากวิธีฟันคอด้วยดาบเป็นการยิงปืนประหาร จึงมีการประกาศเพิ่มเติมใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗
แก้ไขกฎหมายลักษณะอาญามาตรา ๑๓ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน” “ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต
ให้เอาไปยิงเสียให้ตาย”
ประมวลกฎหม�ยอ�ญ� พ.ศ. ๒๔๙๙
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ได้มีพระราชดำาริ
ปรับปรุงกฎหมายอาญาใหม่ เพราะตั้งแต่มีการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ. ๒๔๕๑ (ร.ศ. ๑๒๗)
เป็นต้นมา บ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปมาก จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล
กฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙ ขึ้น ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๐ เป็นต้นมา
ตามประมวลกฎหมายอาญา โทษประหารชีวิตใช้เฉพาะความผิดร้ายแรงเท่านั้น
โดยสามารถจำาแนกลักษณะที่ชัดเจนได้ ดังนี้
๑) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำาเร็จราชการ
แทนพระองค์
๒) ความผิดต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 97