Page 159 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 159

ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย (Asylum Seeker) ผู้ลี้ภัย (Refugee) และผู้อพยพ (Immigrant) หมายถึง คนใน
                     สภาวะที่ต่างกันตามประวัติศาสตร์ทางภาษาศาสตร์  ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย  หมายถึง  บุคคลที่ไม่ถูกสามารถล่วง

                     เกิน ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่หลบหนีจากภัยอันตราย และผู้อพยพ หมายถึง ผู้เดินทางเข้าไปยังดินแดนอื่น
                            ในทางประวัติศาสตร์  กฎหมายของประเทศเยอรมันนีได้จัดให้สิทธิในการลี้ภัยทางการเมือง

                     (Political Asylum) อยู่ในกฎหมายพื้นฐาน (Basic Law) ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่ปรากฏ
                     อยู่ในกฎหมายพื้นฐานหรือกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป  รวมถึง กฎหมายสหภาพ

                     ยุโรป อนุสัญญาเจนีวา และกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ
                            การพิจารณาสถานะภาพผู้ลี้ภัยจึงเป็นไปตามกลไกทางกฎหมายโดยมีศาลเป็นผู้พิจารณา โดย

                     แต่ละประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปเคารพหลักการห้ามผลักดันกลับไปยังดินแดนที่เสี่ยงต่อภัยประหัต
                     ประหาร (Principle of Non-Refoulement)  ซึ่งจัดว่าเป็นหลักกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ

                     (Customary International Law)  นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปยังมีหลักการพิจารณา
                     รัฐผู้รับผิดชอบต่อผู้ลี้ภัย  โดยพิจารณาว่า ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยได้เดินทางเข้าไปที่ประเทศใดเป็นประเทศแรก

                     ประเทศนั้นจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผู้แสวงหาที่ลี้ภัยคนนั้น
                            การพิจารณาสถานะภาพของผู้ลี้ภัยในสหภาพยุโรปมีความก้าวหน้าและซับซ้อนขึ้นมาก นับตั้งแต่

                     หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา  โดยจัดให้มีศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับประเทศต้นทางของผู้แสวงหา
                     ที่ลี้ภัยขึ้น เพื่อจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำามาใช้ในการพิจารณาโดยศาล  ทั้งนี้ ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยในปัจจุบัน

                     มีความคาบเกี่ยวระหว่างการเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ  แต่หลักการคิดที่ใช้ในการพิจารณา
                     สถานะภาพของผู้ลี้ภัย จะใช้หลักของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity)  ซึ่งถ้าหากศักดิ์ศรีความ

                     เป็นมนุษย์ถูกละเมิดจนไม่สามารถดำารงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี เนื่องจากภัยอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้น อันเนื่อง
                     มาจากเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สมาชิกกลุ่มสังคม หรือความคิดเห็นทางการเมือง  บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิ

                     ที่จะแสวงหาที่ลี้ภัยในประเทศอื่นได้
                             ทั้งนี้  ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า  ประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นั้น

                     ไม่ได้ระบุสิทธิลี้ภัยทางการเมืองในกฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น  และมีเพียงไม่กี่ประเทศที่ได้เข้าเป็นภาคี
                     กฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย  ซึ่งประเทศอารยะทั้งหลายที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ

                     พึงกระทำา  ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้แสวงหาที่ลี้ภัย และผู้ลี้ภัยในประเทศไทย
                     จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะขาดกฎหมายที่ทำาหน้าที่คุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานนี้  และปล่อยให้เป็นไป

                     ตามการใช้อำานาจฝ่ายบริหาร หรือวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติเป็นกรณีๆ ไป  ด้วยเหตุนี้ การที่จะ
                     สร้างความมั่นคงให้กับประเทศจำาเป็นที่จะต้องมีการบริหารจัดการคนที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร





                                                                                                          


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164