Page 160 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 160
อย่างมีประสิทธิภาพและเคารพหลักสิทธิมนุษยชน โดยถือเอาหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นที่ตั้ง
และจะต้องรณรงค์ให้ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายการเมือง และรัฐสภาเล็งเห็นถึงความสำาคัญของสิทธิขั้นพื้นฐาน
ในการขอลี้ภัย โดยจัดให้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยขึ้นในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นตัวอย่างในการเคารพ
และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในอาเซียนต่อไป
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนั้นเป็นเหมือนแดนสวรรค์ของผู้ลี้ภัย เนื่องจากในรัฐธรรมนูญของ
เยอรมันนั้นได้มีการบัญญัติสิทธิของการลี้ภัยไว้ โดยให้สิทธิกับผู้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ตนถูกคุกคามสิทธิ
ทางการเมือง สามารถขอลี้ภัยในเยอรมันได้ และเยอรมันได้ให้การรับรองอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับ
สถานภาพของผู้ลี้ภัย (อนุสัญญาเจนีวา) ด้วย
ดังนั้น จึงมีผู้คนมากมายพยายามที่จะเดินทางเข้าไปในเยอรมัน จึงมีการจัดตั้งองค์กรด้านผู้ลี้ภัย
ขึ้นเพื่อดูแลผู้ลี้ภัยเป็นการเฉพาะ
ปัญหาใหญ่สำาหรับผู้ลี้ภัย คือ ผู้ลี้ภัยที่มิได้เหตุลี้ภัยทางการเมือง แต่มีเหตุอื่น เช่น เหตุลี้ภัยทาง
เศรษฐกิจนั้น ไม่สามารถได้รับสิทธิในการลี้ภัยที่เยอรมัน และต่อให้เป็นผู้ที่มีเหตุลี้ภัยทางการเมือง ก็มี
ข้อสงสัยอีกว่าต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์ไหน จึงจะสามารถได้รับสิทธิในการลี้ภัยในประเทศเยอรมัน
ซึ่งในกรณีเหล่านี้ ผู้พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลี้ภัยนั้น คือ ศาล
การลี้ภัยของผู้ลี้ภัยทางการเมืองในช่วงแรกนั้นเป็นประโยชน์แก่เยอรมัน เพราะกำาลังขาดแคลน
แรงงาน และผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยทำางาน แต่ต่อมาเริ่มเกิดปัญหาขึ้นเมื่อผู้ลี้ภัยเริ่มมีจำานวนมากขึ้น
และภายหลังจากการล่มสลายของกำาแพงเบอร์ลิน และการขยายตัวของสหภาพยุโรป ทำาให้ชาวแอฟริกัน
เข้าไปในเยอรมันมากขึ้น รวมถึงผู้ลี้ภัยที่เป็นเด็กและคนชราได้เพิ่มจำานวนขึ้น แต่ผู้ลี้ภัยในวัยทำางานกลับ
ลดลง ทำาให้เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ขึ้น รวมถึงปัญหาหญิงขายบริการ และการนำาคนเข้าไปเพื่อเป็น
แหล่งปลูกถ่ายอวัยวะสำารองด้วย ทำาให้เยอรมันและสหภาพยุโรปร่วมกันจัดตั้งตำารวจสากลด้านตรวจคน
เข้าเมืองทำาหน้าที่คอยดูแล และตรวจสอบข้อมูลของผู้ลี้ภัยทั้งหมดรอบๆสหภาพยุโรป ทั้งการตรวจจับ
ด้วยดาวเทียมเพื่อกีดกันไม่ให้คนเหล่านี้เข้ามาในเขตภาคพื้นยุโรป เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่
ที่ลี้ภัยเพราะเหตุผลทางเศรษฐกิจเป็นหลัก
เกศริน เตียวสกุล
สรุปและนำาเสนอต่อที่ประชุม
คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
การประชุม ครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๔ วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๔
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒