Page 162 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 162
นางสาวเมธาพันธุ์ สุนทรเดช : ๑. การแยกความแตกต่างระหว่างผู้ลี้ภัยกับผู้อพยพ
๒. Non - refoulement principle นั้น มีหลักปฏิบัติอย่างไร
Dr. Dieter Umbach : ๑. ผู้ลี้ภัย คือ ผู้ที่จำาเป็นต้องเคลื่อนย้ายตนเองจากประเทศของตนไปยังประเทศ
อื่นเพราะมีภัยมาคุกคามตน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการคุกคามจากความไม่เป็นธรรมทางการเมือง
หรือจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อเพศสภาพ ศาสนสภาพ เป็นต้น ส่วนผู้อพยพนั้น คือ
ผู้ที่เคลื่อนย้ายตนเองไปยังประเทศอื่น โดยที่ไม่จำาเป็นต้องมีภัยมาคุกคาม ดังนั้น คำาว่า
ผู้อพยพ นั้น มีความหมายที่กว้างกว่าคำาว่า ผู้ลี้ภัย
๒. เป็นหลักการของฝรั่งเศสถือเป็นกฎหมายจารีตประเพณีที่เยอรมันยอมรับ
เช่นกัน โดยที่ไม่ยอมให้มีการผลักดันผู้ลี้ภัยไปเผชิญกับภัยอันตราย คือ แม้ว่าทางรัฐบาลจะ
ไม่ยอมรับผู้อพยพเข้าประเทศ แต่ก็ต้องไม่ไล่ผู้อพยพให้ไปเผชิญกับอันตรายที่เขาหนีมา
ดร. กิตติศักดิ์ ปรกติ : ทำาไมมลรัฐแต่ละมลรัฐของเยอรมันนั้น จึงมีการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยไม่เหมือนกัน
มีทั้งการกักกันผู้ลี้ภัยอยู่ในตึก โดยที่ต่อให้อยู่ตึกติดกันก็ไม่สามารถไปมาหาสู่กันได้บ้าง
อยู่อาศัยในหมู่บ้านบ้าง มีงานให้ทำาบ้าง ไม่มีงานให้ทำาบ้าง
Dr. Dieter Umbach : เป็นปัญหามาจากการที่มลรัฐแต่ละมลรัฐสามารถออกกฎหมายในการจัดการ
เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยได้เองโดยที่ไม่ต้องขอความเห็นของรัฐบาลกลาง ทำาให้เกิดมาตรฐานในการ
จัดการกับลี้ภัยที่ต่างกันในแต่ละมลรัฐ
ผู้แทนชาวโรฮิงญา : ชาวโรฮิงญา เป็นคนไร้สัญชาติไม่มีประเทศไหนยอมรับ อยากจะถามว่า พวกเรานั้น
จะสามารถอยู่ที่ไหนได้บ้าง
Dr. Dieter Umbach : เยอรมันนั้น มีกฎหมายสัญชาติที่ให้สิทธิแก่บุคคลผู้ไร้สัญชาติเท่าเทียมกับ
ชาวเยอรมัน ดังนั้น ถ้าชาวโรฮิงญาสามารถเดินทางไปถึงเยอรมันได้ ก็สามารถที่จะอยู่ที่
ประเทศเยอรมันโดยมีสิทธิเหมือนชาวเยอรมันทุกประการ
เกศริน เตียวสกุล
สรุปและนำาเสนอต่อที่ประชุม
คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
การประชุม ครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๔ วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๔
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒