Page 161 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 161
นายวีรวิชญ์ เธียรชัยนันท์ (ผู้แทนเครือข่ายผู้ลี้ภัย) : คำาแนะนำาที่มีต่อประเทศไทยในการแก้ไขปัญหา
ผู้ลี้ภัยที่มีมากขึ้น ควรที่จะทำาอย่างไร?
Dr. Dieter Umbach : ประเทศไทยควรที่จะร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องผู้ลี้ภัยมาแก้ปัญหานี้โดยตรง
ดร. กิตติศักดิ์ ปรกติ : ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ควรจะมีการแก้ไขในระดับนานาชาติ ประเทศมหาอำานาจ
ควรเป็นแกนนำาในการแก้ไข อย่างเช่น การยอมให้ผู้คนเดินทางไปในประเทศต่างๆ ได้โดยเสรี
เช่นเดียวกับเขตเสรีทางการค้าในสนธิสัญญาการค้าเสรี
Dr. Dieter Umbach : เป็นไปไม่ได้ที่จะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีนั้น เพราะเงื่อนไขของปัญหานั้นแตกต่างกัน
ในแต่ละประเทศ ซึ่งควรที่จะแก้ไขปัญหาโดยที่ทำาให้ประเทศต่างๆ นั้น มีมาตรฐานในการจัดการ
ปัญหาผู้ลี้ภัยได้ด้วยตนเอง
ดร. กิตติศักดิ์ ปรกติ : โดยข้อเท็จจริงแล้ว ปัญหาการกักกันผู้ลี้ภัยแถบชายแดนของประเทศไทยนั้น
เกิดจากแรงกดดันจากต่างชาติ เนื่องจากไทยนั้นมิได้เป็นสมาชิกสนธิสัญญาเจนีวา จึงไม่
จำาเป็นต้องให้สิทธิอยู่อาศัยแก่ผู้ลี้ภัยทางการเมือง แต่ผู้ลี้ภัยเหล่านั้นสามารถใช้ไทยเป็น
ทางผ่านไปยังประเทศที่สามได้ เป็นเหตุให้ไทยถูกสหภาพยุโรปยกเรื่องข้อตกลงทางเศรษฐกิจ
มาต่อรองไม่ให้ไทยยอมให้คนเหล่านั้นใช้ไทยเป็นทางผ่าน ซึ่งปัญหาที่เกิดกับผู้ลี้ภัยในลิเบีย
ก็เกิดจากเหตุผลเดียวกัน
Dr. Dieter Umbach : มันเป็นเรื่องที่ตอบยาก เพราะมันไม่ใช่ปัญหาทางกฎหมายอย่างเดียว แต่เป็น
ปัญหาทางการเมืองด้วย และตอนนี้ ประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาลของตนในประเทศแถบ
แอฟริกาเหนือนั้น ตอนนี้ก็มีสิทธิที่จะลี้ภัยในประเทศยุโรปได้ทั้งสิ้น ทำาให้ตอนนี้ สหภาพ
ยุโรปต้องหาทางรับมือกับผู้ลี้ภัยจำานวนมาก
ดร. กิตติศักดิ์ ปรกติ : ทำาอย่างไรจึงจะสามารถแยกผู้ลี้ภัยทางการเมืองจริงๆ กับผู้ลี้ภัยทางการเมือง
หลอกๆ ออกจากกัน เช่น แกล้งทำาเป็นประท้วงรัฐบาลของตนเพื่อให้ได้รับสิทธิในการลี้ภัย
Dr. Dieter Umbach : ทำาได้ยากมาก เพราะแม้ว่า ศาลจะตรวจสอบจากทั้งทางประวัติ อายุ ระยะเวลา
ในการต่อต้าน ก็ตาม แต่ผู้ต่อต้านที่อายุยังน้อยและระยะเวลาสั้น ก็อาจที่จะถูกคุกคาม
ได้จริง ซึ่งถ้าผู้ลี้ภัยนั้นเป็นบุคคลธรรมดา การสอบข้อเท็จจริงมักจะเป็นไปโดยง่ายเพราะ
จะตอบคำาถามอย่างตรงไปตรงมา แต่ถ้าเป็นพวกผู้ที่มีการศึกษาสูงหรือปัญญาชนนั้น
การสอบข้อเท็จจริงนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะสามารถให้ทั้งความเท็จและจริงปะปนกันได้
อย่างแนบเนียน ซึ่งถ้าไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ข้อมูลนั้นเป็นเท็จ ก็ต้องให้สิทธิในการลี้ภัย
แก่ผู้นั้น
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒